ปัจจัยทำนายการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ของผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

Authors

  • รัตนา นิลเลื่อม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การรับรู้ความพร้อมในการจำหน่าย, การรับรู้อาการเจ็บป่วย, ภาวะสุขภาพ, คุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย, ผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, perceived readiness for hospital discharge, illness perception, health status, quality of discharge teaching

Abstract

การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี จำนวน 77 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลและผู้ป่วย แบบสอบถามการรับรู้ของผู้ดูแลต่ออาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย แบบสอบถามภาวะสุขภาพของผู้ดูแล แบบสอบถามคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และแบบสอบถามการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับมาก (mean= 3.09, SD. = 0.50) โดยการรับรู้ของผู้ดูแลต่ออาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลให้กับผู้ดูแล สามารถร่วมกันทำนายการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ร้อยละ 11.2 (R2 = .112, p < .05) โดยคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลให้กับผู้ดูแลเป็นตัวแปรเดียวที่สามารถทำนายการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β =.251, p < .05)

จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและทีมสุขภาพ ควรมีการส่งเสริมคุณภาพการสอนก่อนจำหน่าย เพื่อเพิ่มการรับรู้ความพร้อมก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลให้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

 

Predicting factors of perceived readiness for hospital discharge  in caregivers of patients with acute myocardial infarction

The purpose of this correlational predictive study was to examine the influencing factors of perceived readiness for hospital discharge in caregivers of patients with acute myocardial infarction. The samples were 77 caregivers of this group of patients being admitted at a tertiary hospital in Ratchaburi Province. Data were collected by using a demographic questionnaire of caregiver and patient, Brief Illness Perception questionnaire, 12-Item Short Form Health Survey (SF-12), Quality of Discharge Teaching Scale and the Preparedness for Caregiving Scale. The data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression.

The findings showed that the sample had a high level of perceived readiness for hospital discharge (Mean = 3.09, SD = 0.50). Illness perception, perceived health status, and quality of discharge teaching explained 11.2 % of readiness for discharge (R2 = .112, p < .05).Quality of discharge teaching was the only predictor of perceived readiness for discharge among the caregiver of patients with acute myocardial infarction  (β =.251,  p < .05).

Based on the findings, the researchers recommended that nurses and health care team should provide quality of discharge teaching to enhance perceived readiness for hospital discharge among caregivers of patients with myocardial infarction.

Downloads

How to Cite

1.
นิลเลื่อม ร, ภิญโญภาสกุล ว, กุสุมา ณ อยุธยา ศ, ศรีประสงค์ ศ. ปัจจัยทำนายการรับรู้ความพร้อมในการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ของผู้ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2016 Oct. 29 [cited 2024 Dec. 22];27(1):43-55. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/69764