ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดการถอดท่อช่วยหายใจ โดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ

Authors

  • สมพร นรขุน นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รัชนี นามจันทรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วารินทร์ บินโฮเซ็น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน, ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ, Nursing protocol, Unplanned extubation, Patient with endotracheal intubation

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ (Comparative study) แบบ Retrospective and Prospective Uncontrolled before and after Intervention Study เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน (unplanned extubation : UE) ในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักสถาบันบำราศนราดูร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 51 คน คือ กลุ่มเปรียบเทียบเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานเดิมของสถาบัน เลือกกลุ่มตัวอย่างจากเวชระเบียนของผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557 ส่วนกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนมกราคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2558 แนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วย 1) การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแล 2) การดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ 3) การจัดการความปวด 4) การให้ยากล่อมประสาทและการผูกยึดผู้ป่วย และ 5) การหย่าเครื่องช่วยหายใจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านความเจ็บป่วย และแบบบันทึกข้อมูลการเกิด UE วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย Fisher’s Exact test, Chi-square, และ Mann Whitney U test

ผลการวิจัยพบว่าในกลุ่มทดลองไม่พบการเกิด UE ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบเกิดร้อยละ 11.76 อัตราการเกิด UE ในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05

การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการประยุกต์แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และควรมีการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลต่อคุณภาพการพยาบาล และผลลัพธ์ทางคลินิกอื่นๆ ต่อไป

 

The effect of nursing care protocol on the incidence rates of unplanned extubation in patients with endotracheal intubation

This study is a comparative study – a retrospective and prospective uncontrolled before and after intervention study. The research aimed to study the effect of nursing protocol on the incidence rate of unplanned extubation (UE) in patients with endotracheal intubation. The samples were selected by purposive sampling from the patients, who were intubated and admitted to the intensive care unit of Bamrasnaradura Infection Diseases Institution. The samples were divided into two groups, 51 patients in each group. The compared group was selected from the medical records of the patients who were admitted during June to December 2014. The experimental group was the patients who admitted during January to July 2015. The compared group received the institute’ standard care, while the experimental group received the evidence-based nursing protocol. The nursing protocol comprised of 1) providing  information  to the patients/families and facilitating their participation in care, 2) nursing care for the patient with endotracheal intubation and respirator, 3) pain management, 4) using sedatives and restraint and 5) weaning respirator. Data were collected using a record of basic data and the illness information and the UE incidence record. Descriptive statistics, Fisher’s Exact test, Chi-square, and Mann Whitney U test were used for data analysis.

The result revealed that, there was no incidence of UE in the experimental group while the rates of the compared group were 11.76%. The incidence rate of UE in the experiment group was significantly lower than that of the compared group (p<.05).

The study suggests that the evidence-based nursing protocol should be applied in caring for the patients with endotracheal intubation. Further study should be performed to assess the effectiveness of the nursing protocol on the quality of nursing care and other clinical outcomes.


Downloads

How to Cite

1.
นรขุน ส, นามจันทรา ร, บินโฮเซ็น ว. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดการถอดท่อช่วยหายใจ โดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2016 Oct. 29 [cited 2024 Nov. 22];27(1):72-84. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/69766