การบูรณาการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่ 3
Keywords:
การสร้างเสริมสุขภาพ, การบูรณาการ, การจัดการเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล, health promotion, integration, teaching and learning, nursing studentsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบูรณาการแนวคิดการจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 3 ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล และอาจารย์ผู้สอน และ 2) ศึกษาการรับรู้สมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 154 ราย และอาจารย์ผู้สอนในรายวิชา จำนวน 8 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการบูรณาการแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลภาคทฤษฎีสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน แบบประเมินสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนโดยรวมมโนทัศน์หลักด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 3 ในระดับปานกลาง และมีคะแนนเฉลี่ยรายข้อด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยในวัยผู้ใหญ่อยู่ในระดับดี (mean = 3.79, S.D. = 0.92) ส่วนอาจารย์ผู้สอนมีคะแนนโดยรวมการรับรู้ต่อการนำมโนทัศน์หลักด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่3 ในระดับน้อย นอกจากนี้นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนโดยรวมการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพในระดับปานกลาง (mean = 3.49, S.D. = 0.26) โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับสูงในด้านการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (mean = 3.69, SD = 0.20)
ข้อเสนอแนะการจัดทำหลักสูตรที่มีการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาการพยาบาลควรมีความต่อเนื่องในการพัฒนาความรู้และทักษะการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละรายวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทั้งหลักสูตร ควรมีการเตรียมความพร้อมของผู้สอนให้มีความเข้าใจเนื้อหาของมโนทัศน์การสร้างเสริมสุขภาพ และมีแนวคิดและเนื้อหาวิชาของการสร้างเสริมสุขภาพให้ชัดเจนและสอดคล้องกับการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 3
The integration of health promotion concept in learning and teaching of the Adult Nursing 3
The purpose of this study were: 1) to examine the perceptions of nursing students and nurse instructors in the integration of health promotions concepts toward learning and teaching of the Adult Nursing 3, and 2) to investigate nursing students’ competency in health promotion. Samples were 3rd year of 154 nursing students and 8 nurse instructors participated in this study. Data were collected by using questionnaires of the integration of health promotion concepts in learning and teaching of the adult nursing 3 for nursing students and nurse instructors, nursing students’ self-assessment of health promotion competency as well as focus groups discussions. Data were analyzed using descriptive statistic and content analysis.
The results showed that student nurses had total mean score of integrating health promotion concepts in learning and teaching of the Adult 3 at a moderate level. In addition, the item of health promotion and prevention of illness in adult patients perceived by students was at a good level (mean = 3.79, S.D. = 0.92). The nurse instructors’ perceptions of integrating health promotion concepts in learning and teaching were at a low level. The student nurses had total mean score of their competency in health promotion at a moderate level (mean = 3.49, S.D. = 0.26). Their competency in the part of practicing health promotion was at a good level (mean = 3.69, S.D. = 0.20).
It should be recommended that nursing curriculum should be developed by integrating health promotion concepts continuously and well preparing all nurse instructors in order to intelligible understand in health promotion concepts, particularly, in the Adult Nursing 3 subject.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก