ศึกษาความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตาย ในหน่วยงานวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Keywords:
ความต้องการของสมาชิกครอบครัว, ผู้ป่วยภาวะใกล้ตาย, หน่วยไอซียู, needs of family members, Dying patients, Intensive careAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตายด้วยโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกอย่างจำเพาะเจาะจง โดยเป็นสมาชิก ครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตาย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักไอซียูศัลยกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 60 คน โดยเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตายด้วยโรคเฉียบพลันจำนวน 30 รายและเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตายด้วยโรคเรื้อรังจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการ่วิจัยคือแบบสอบถาม ความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตายด้วยโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่างระหว่างสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตายด้วย โรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรังด้วยสถิติทดสอบแมนน์-วิทนีย์ ยู
ผลการวิจัยพบว่าสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตายด้วยโรคเฉียบพลันมีความต้องการมากที่สุดคือ ความต้องการด้านอยู่กับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 85.42 ความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารคิดเป็นร้อยละ 84.46 ความต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 83.50 ส่วนสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย ภาวะใกล้ตายด้วยโรคเรื้อรังมีความต้องการมากที่สุดคือ ความต้องการด้านอยู่กับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 90.70 ต้านความต้องการด้านข้อมูลข่าวสาร คิดเป็นร้อยละ 89.23 ต้านความต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 88.85 เมื่อเปรียบเทียบความต้องการรายด้านของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตาย ด้วยโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรังพบว่า ความต้องการข้อมูลข่าวสาร ความต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ผู้ป่วยและความต้องการที่จะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยภาวะใกล้ตายด้วยโรคเรื้อรังมีความต้องการบรรเทาความวิตกกังวลมากกว่าสมาชิก ครอบครัวผู้ป่วยใกล้ตายด้วยโรคเฉียบพลันและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลในหน่วยงานวิกฤตประเมินความต้องการของครอบครัวในผู้ป่วยวิกฤตใกล้ตาย เพื่อให้การพยาบาลตอบสนองต่อความต้องการของครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ : ความต้องการของสมาชิกครอบครัว, ผู้ป่วยภาวะใกล้ตาย, หน่วยไอซียู
Abstract
The purposes of this study were to identify and to compare needs toward among family members of dying patients with acute illness and chronic illness. The purposive sample consisted of 60 family members of dying patients who were admitted at the intensive care surgery unit of King Chulalongkron Memorial Hospital. There were 30 family members of dying patients with acute illness and 30 family members of dying patients with chronic illness. Data were collected during October 2003-April 2005. The research instrument used the need of family members of dying patients Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and the difference between groups was compared using Mann-Whitney U test. The results of this study showed that the needs of family members of dying patients with acute illness were order reported as need to be with patients(85.42%),information need (84.46%), and need to participate in caring (83.50%). The needs of family members of dying patients with chronic illness were order reported as need to be with patients (90.70%), information need (89.23%) and need to participate in caring (88.85%). The results of analysis showed that comparison of the needs of family members of dying patients with acute illness and with chronic illness of need to be with patients, information need, need to participate in caring, need to be supported was not statistically different. The needs of family members of dying patients with chronic illness need to relief anxiety over the needs of family members of dying patients with acute illness was statistically different. (p < 0.01). This study recommended that nurses in ICU should assess needs of family caregivers in order to provide nursing care respond to their needs.
Key word : needs of family members, Dying patients, Intensive care
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก