การช่วยเหลือสตรีเลิกบริโภคยาสูบ

Authors

  • บุหงา ตโนภาส ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

สุภาพสตรี, การสูบบุหรี่, กลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การเลิกบริโภคยาสูบ

Abstract

บทคัดย่อ

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อัตราการ สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวในสตรีและการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยด้านร่างกายและจิตสังคมที่แตกต่างกันของผู้ชายและผู้หญิงส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านและความพร้อมในการเลิกบริโภคยาสูบ ดังนั้นการสร้างกลยุทธ์เพื่อการเลิกบริโภคยาสูบในกลุ่มสตรีจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีความแตกต่างเหล่านี้ร่วมด้วย กลยุทธ์ในการช่วยเหลือสตรีให้เลิกบริโภคยาสูบ ได้แก่ การให้คำปรึกษา พฤติกรรมบำบัด การให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ การประยุกต์ใช้สื่อหรือกิจกรรมบันเทิงเชิงวิชาการ (Edutainment) การสร้างเสริมการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและเพื่อน รวมถึงการบำบัดด้วยยา การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาโปรแกรมการช่วยเหลือที่นำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้การเลิกบริโภคยาสูบประสบผลสำเร็จสูงขึ้น รวมถึงการช่วยเหลือที่นำกลยุทธ์มาปรับให้เหมาะสมกับสตรีกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มวัยรุ่นในสถาบันศึกษา และกลุ่ม สตรีมีครรภ์ เป็นต้น การพัฒนาองค์ความรู้โดยนำปัจจัยที่มีความแตกต่างตามเพศสภาวะ และช่วงวัย จึงเป็น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้สังคมโลกเป็นสังคมสุขภาพปลอดยาสูบอย่างถาวร

คำสำคัญ : สุขภาพสตรี, การสุบบุหรี่, กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การเลิกบริโภคยาสูบ

Downloads

How to Cite

1.
ตโนภาส บ. การช่วยเหลือสตรีเลิกบริโภคยาสูบ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];18(1):10-2. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8458