การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจ
Keywords:
การจัดการความรู้, การพัฒนาคุณภาพ, การพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจ, Knowledge Management, Quality Improvement, Specialized Cardiac Nursing CareAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความรู้สำหรับ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์หัวใจต่อศักยภาพของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางโรคหลอดเลือดหัวใจ และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมหัวใจ จำนวน13คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับการรักษาในสถาบันโรคทรวงอก จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบประเมินศักยภาพพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (การประเมินอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก การอ่านและแปลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Hemodynamic monitoring และการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ก่อนให้ยาละลายลิ่มเลือด) ส่วนที่ 2 เป็นแบบวัดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (การใช้ยาอมใต้ลิ้น และความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ระยะเวลาผู้ป่วยมาถึงจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด และระยะเวลาผู้ป่วยมาถึงจนไต้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Signed-Rank test และ Paired Simples t-test ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์หัวใจ หลังการทดลองมี ศักยภาพดีขึ้นในด้านการประเมินอาการเจ็บหน้าอก การอ่านและแปลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การประเมินผู้ป่วย ก่อนให้ยาละลายลิ่มเลือด และ Hemodynamic monitoring มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003, p=0.001, p=0.002 และ p=0.001) ตามลำดับ และผู้ป่วยหลังการทดลองมีความสามารถในการใช้ยาอมใต้ลิ้นดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีความพึงพอใจโดยรวม หลังโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด เฉลี่ย 49 นาที และระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงจนได้รับการถ่างขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เฉลี่ย 79 นาที สรุปการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจทำให้พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนัก อายุรกรรมหัวใจมีศักยภาพในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจดีขึ้นและผู้ป่วยมีความสามารถใช้ยาอมใต้ลิ้นเมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้อย่างถูกต้อง
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการจัดการความรู้ในองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย และเพิ่มสมรรถนะขององค์กรในภาพรวม รวมทั้งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการดูแลผู้ป่วยด้วย
คำสำคัญ : การจัดการความรู้, การพัฒนาคุณภาพ, การพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจ
ABSTRACT
This one-group quasi-experimental study aimed to examine the effects of knowledge management program for cardiac nurses working in Medical Cardiac Care Unit on their competency of specialized cardiac nursing care and the clinical outcomes of patients with coronary artery disease. The participants of this study included 13 cardiac nurses in Medical Cardiac Care Units and 50 coronary artery disease patients who admitted at the Chest Disease Institute. The instrument used in this study consisted of 2 parts: Cardiac Nursing Competency Assessment Tools for cardiac nurses (chest pain assessment, electrocardiograme interpretation, hemodynamic monitoring, and patient assessment for Thrombolytic therapy) and coronary artery disease patientsû outcomes (application of sublingual nitroglycerin, patient satisfaction, door to drug and door to balloon time). The collected data were analyzed by percentage, means, standard deviation, Wilcoxon Signed-Rank test and Paired Samples t-test. The results of the study showed that cardiac nurses significantly increased their competency of chest pain assessment, electrocardiograme interpretation, hemodynamic monitoring and patient assessment for thrombolytic therapy at p-values of 0.003, 0.001, 0.002, and 0.00, respectively. The coronary artery disease patients had significantly better application of sublingual nitroglycerin drug (p<0.001). The overall patientûs satisfaction level was moderate. The mean score of door to drug time was 49 minutes and door to balloon time was 79 minutes. Conclusion of this study was knowledge management program for quality improvement of specialized cardiac nursing care increased cardiac nursesû competency of specialized cardiac nursing care and improved clinical outcome and satisfaction of the patients. The findings will be preliminary suggestion to conduct knowledge management among nurses in an institute to improve nursesû competency and clinical outcomes of the patients.
KEY WORDS : Knowledge Management, Quality Improvement, Specialized Cardiac Nursing Care
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก