ความเครียดและความวิตกกังวลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์หัวใจ สถาบันโรคทรวงอก

Authors

  • อรสา ไพรรุณ สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี
  • ปรวรรณ ฤาชา สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี
  • มาสริน ศุกลปักษ์ สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี

Keywords:

ความเครียด, ความวิตกกังวล, สมาชิกครอบครัว, Stress, Anxiety, family members

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา เกี่ยวกับระดับความวิตกกังวล และความเครียดของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์หัวใจของสถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ถึง เดือนกันยายน 2550 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยดังกล่าว จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินความเครียด และความวิตกกังวลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เท่ากับ 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.80 และ 0.84 ตามลำดับ

ผลจากการศึกษาครั้งนื้พบว่า สมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์หัวใจส่วนใหญ่ มีความเครียดและความวิตกกังวลแฝงและขณะเผชิญ อยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 70.8, 58.5 และ 63.1 ตามลำดับ ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินความเครียดและความวิตก กังวลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย เพื่อวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสมในการลดความเครียดและความวิตก กังวลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์หัวใจ

คำสำคัญ : ความเครียด, ความวิตกกังวล, สมาชิกครอบครัว

 

Abstract

The purpose of this†descriptive study was to examine the level of anxiety and stress among family members of patients admitted in Intensive Medical Cardiac Care Unit (IMCCU) of Chest Disease Institute, Nontaburi Province during February, 2005 to October, 2007. Convenient† sampling was applied to recruit 65 family members of cardiac patient admitted in IMCCU.†The instrument used for data collection was consisted of Stress and Anxiety scales. The†findings revealed that most family members have moderate levels of stress, anxiety X-I and X-II (70.8%, 58.5% and 63.1%, respectively). The finding of this study could be applicable as preliminary data to plan nursing care for family members to reduce their anxiety and stress.

Keywords : Stress, Anxiety, family members

Downloads

How to Cite

1.
ไพรรุณ อ, ฤาชา ป, ศุกลปักษ์ ม. ความเครียดและความวิตกกังวลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรศาสตร์หัวใจ สถาบันโรคทรวงอก. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];19(1):15-23. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8484