ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจ: การสังเคราะห์งานวิจัยในประเทศไทย
Keywords:
ผู้ป่วยโรคหัวใจ, คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจในชีวิต, การสังเคาะห์งานวิจัย, Patients with heart disease, Quality of life, Life satisfaction, Research synthesisAbstract
บทคัดย่อ
การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ และเพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคืองานวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาและรายงานการวิจัยอื่นๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2554 จำนวน 34 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิตมากที่สุด (ร้อยละ 67.65) โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด (ร้อยละ 41.18) คณะที่ผลิตงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นคณะพยาบาลศาตร์ (ร้อยละ 76.47) และได้รับการพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ 2541ถึง พ.ศ 2545 มีจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 32.35) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าสวัสดิการค่ารักษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมากกับคุณภาพชีวิต ส่วนรายได้ระดับการศึกษาและเพศมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิต ส่วนปัจจัยด้านสุขภาพพบว่าสมรรถภาพและประสิทธิภาพการทางานของหัวใจห้องล่างซ้าย (LVEF) อาการหรืออาการแสดงมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิต ปัจจัยด้านจิตสังคมพบว่าอัฒมโนทัศน์ การสนับสนุนทางสังคมหรือจากคู่สมรสและความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับคุณภาพชีวิต ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมและการทำหน้าที่พบว่าความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับคุณภาพชีวิต
ข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยนี้สามารถนาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบริการการพยาบาลและพัฒนางานวิจัยทางการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ
คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคหัวใจ, คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจในชีวิต, การสังเคาะห์งานวิจัย
Abstract
The purposes of this research synthesis were to explore research characteristics of the studies focusing on factors related to quality of life among patients with heart disease, and to summarize knowledge derived from the studies focusing on factors related to quality of life among patients with heart disease. The samples of studies were thirty-four post graduate thesis and research studies conducted from 1989 to 2011. An instrument used in this study was a data extraction form developed by the researchers. Studies were analyzed for their general methodological and substantive characteristics.
Results were as follows: The majority of the studies were master thesis (67.65%). The studies were published from Mahidol University (41.18). The faculty of nursing was the main institution of research distribution (76.47%), and the most were published from 1998-2002 (32.35%). For factors related to quality of life among patients with heart disease, personal factors including health welfare, which had the highest positive correlation to quality of life; income, education level, and sex had moderate positive correlation to quality of life. Health-related factors including health status and function of heart/left ventricular ejection fraction (LVEF), signs and symptoms had moderate correlation to quality of life. Psychological factors including self concept, social support, and sense of coherence had high positive correlation to quality of life. For behavioral factors, self care agency and activity of daily living had high positive correlation to quality of life.
Recommendation: The result of this study can be used as an evidence base to improve nursing care provision and nursing research for better quality of life in heart disease patients.
Key Words : Patients with heart disease, Quality of life, Life satisfaction, Research synthesis
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก