ผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อจำนวนวันนอนหลังผ่าตัดและความพึงพอใจของผู้ป่วย

Authors

  • สุชีรา อึ้งตระกูล พยาบาลชำนาญการ สถาบันทรวงอก
  • อำภาพร นามวงศ์พรหม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ อาจารย์พยาบาล สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, จำนวนวันนอนหลังผ่าตัด, ความพึงพอใจของผู้ป่วย, Nursing Care protocol, Coronary Artery Bypass Graft, Length of Stay, Patients' Satisfaction

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อจำนวนวันนอนหลังผ่าตัดและความพึงพอใจของผู้ป่วย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบเฉพาะเจาะจง 44 ราย ประกอบด้วย เก็บข้อมูลย้อนหลังกลุ่มได้รับการดูแลแบบปกติ จำนวน 22 ราย และกลุ่มทดลอง 22 รายเก็บข้อมูลไปข้างหน้าเป็นกลุ่มที่ได้รับดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ แนวทางปฏิบัติประกอบด้วย 1) การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัดมีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยด้านความรู้และทักษะ เช่น การให้ข้อมูล การฝึกบริหารปอดโดยการหายใจลึกๆ 2) การพยาบาลหลังการผ่าตัดมีเป้าหมายเพื่อประเมินความพร้อมและความสามารถของร่างกายก่อนการมีกิจกรรม เช่น การส่งเสริมการการเคลื่อนไหวร่างกาย การจัดท่านอน การจัดการความปวดหลังผ่าตัด การบริหารปอด และการส่งเสริมทางานของลาไส้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน แบบบันทึกข้อมูลจำนวนวันนอนหลังผ่าตัด และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และ Mann-Whitney U test

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์มีจำนวนวันนอนหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มที่ให้การพยาบาลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และพบว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นจากหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความพึงพอใจต่อการบริการพยาบาลในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ: ควรนาแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจไปใช้ในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และควรนำไปทดสอบผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ (LVEF) ต่ากว่า 40%

คำสำคัญ : แนวปฏิบัติการพยาบาล, การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, จำนวนวันนอนหลังผ่าตัด, ความพึงพอใจของผู้ป่วย

 

Abstract

This comparative study aimed to investigate the effects of the coronary artery bypass graft nursing care protocol on length of stay and patientsû satisfaction. Forty-four coronary artery bypass graft patients were purposively selected. The retrospective group comprising 22 subjects received a usual care was collected. A sample of 22 patients, the prospective group, received care by using the evidence-based nursing protocol. The protocol consisted of 2 phases: 1) Pre-operative nursing aimed to improve knowledge and to develop skills of patients such as giving information, practicing deep breathing and lung exercise. 2) Post-operative nursing care aimed to assess readiness and capability for activities such as early ambulation protocol, positioning, post-operative pain management, and lung exercise, and bowel protocol. The personal information sheet, Length of stay recording form, and Patientûs satisfaction questionnaire were used to collect data. The data were analyzed using descriptive statistics and Mann-Whitney U test.

The findings showed that the averaged length of stay of the group received the evidence-based nursing care protocol were significantly lower than that of the usual care group. (p < .001) Also, the group received the evidence-based nursing care protocol has a high level of satisfaction.

Suggestion: The protocol in caring for the patients with coronary artery bypass graft should be used in the unit constantly. Future research should investigate the effects of the protocol in the high risk groups especially those with ejection fraction lower than 40%.

Key Words : Nursing Care protocol, Coronary Artery Bypass Graft, Length of Stay, Patients' Satisfaction

Downloads

How to Cite

1.
อึ้งตระกูล ส, นามวงศ์พรหม อ, ภักดีวงศ์ น. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจต่อจำนวนวันนอนหลังผ่าตัดและความพึงพอใจของผู้ป่วย. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 11 [cited 2024 Nov. 5];23(2):31-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8488