การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี
Keywords:
การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, social support, self-care behaviors, cardiac valve replacement patientsAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 รายเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด A เปลี่ยนลิ้นหัวใจที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2551 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะทางประชากรและการเจ็บป่วย 2) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม 3) แบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตลอดจนคำนวนหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีคะแนนการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยรวมและรายด้าน คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติตัวสม่ำเสมอปานกลาง ส่วนคะแนนรายด้าน พบว่าคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานยาอยู่ในระดับการปฏิบัติตัวสม่ำเสมอมาก ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ และการสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับการปฏิบัติตัวสม่ำเสมอปานกลาง การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .79, P < .01)
ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลในการสนับสนุนการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย หลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอย่างต่อเนื่อง พยาบาลควรนำการสนับสนุนทางสังคมเป็นแนวทางในการวางแผน การพยาบาลและการจัดการความรู้ในผู้ป่วยผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่รับประทานยาด้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
คำสำคัญ : การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
Abstract
The purposes of this research were to study social support and self-care behaviors of cardiac valve replacement patients, and to examine the relationship between social support and self-care behaviors of cardiac valve replacement patients. Sixty subjects were the patients with cardiac valve replacement patients, who attended the Surgical Heart Clinic at Out-Partient Department of Chest Disease Institute. The study was carried out from January to April 2008. The instrument used in this study were an interview schedule consisted of: 1) Personal Characteristics and Illness Information, 2) the Social Support Interview Schedule, and 3) the Self-Care Behaviors Interview Schedule. The data were analyzed using descriptive statistic, and Pearsonûs product moment correlation coefficient. The results showed the overall score and the subscale scores for social support of cardiac valve replacement patients were at a moderate level. The overall score for self-care behaviors of cardiac valve replacement patients were at a moderate level and the subscale scores of medication †intake were at a high level. In addition food consumption, physical exercise, personal hygiene for the prevention of infection of the cardiac valves and attention to early signs/symptoms of complication were at a moderate level. There were positive significantly relationships between the overall score for social support and self-care behaviors of cardiac valve replacement patients. (p < .01). These findings provided supportive information to enhance the continuity of self-care behaviors of cardiac valve replacement patients. Nurses should apply the social support concept to guide nursing care and encourage knowledge management in cardiac valve replacement patients in order to improve their quality of life.
Key Words : social support, self-care behaviors, cardiac valve replacement patients
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก