ผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลช่องปากในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต

Authors

  • อัจนา แทนขำ พยาบาลชำนาญการพิเศษระดับ 7 ไอ ​ซี ยู อายุรกรรม 1 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • กนกพร จิวประสาท อาจารย์พยาบาล ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ดวงกมล วัตราดุลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

แนวปฏิบัติการดูแลช่องปาก, การติดเชื้อที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ, พฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาล, Oral Care guideline, Ventilator Associated Pneumonia, Intubated Patient, Nursing Behaviors

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแบบ research and development มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของพยาบาลต่อการดูแลช่องปากในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ สร้างแนวปฏิบัติการดูแลช่องปาก และเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังการนำแนวปฏิบัติไปใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามทัศนคติต่อการดูแลช่องปาก และแบบสังเกตพฤติกรรมการดูแลช่องปาก กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลในหอผู้ป่วยไอ ซี ยู อายุรกรรมจานวน 25 ราย ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันโดยการศึกษาทัศนคติและการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลช่องปาก 2) สร้างแนวปฏิบัติการดูแลช่องปากโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และการมีส่วนร่วมของพยาบาล 3) ส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติการดูแลช่องปากมาใช้โดยการสอน-สาธิต และชักจูงให้พยาบาลใช้แนวปฏิบัติในการดูแลช่องปาก 4) ประเมินโดยการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการดูแลช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและนอนพาราเมตริก

ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลช่องปากและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลช่องปากในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ไม่มีความมั่นใจว่าวิธีการที่ใช้ปฏิบัติเดิมมีความถูกต้อง เมื่อนำแนวปฏิบัติในการดูแลช่องปากมาใช้ร่วมกับการสอน - สาธิตการดูแลช่องปากกับผู้ป่วยในการปฏิบัติข้างเตียง และชักจูงให้พยาบาลใช้แนวปฏิบัติในการดูแลช่องปาก ทำให้พยาบาลสามารถปฏิบัติตามวิธีการได้ถูกต้องและแตกต่างจากการดูแลช่องปากตามวิธีการเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)

ข้อเสนอแนะ : ควรมีการประชุมปรึกษาเป็นรายกรณีเพื่อนำแนวปฏิบัติการดูแลช่องปากไปใช้ให้สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้พยาบาลใช้แนวทางปฏิบัติในการดูแลช่องปากในงานประจาอย่างต่อเนื่อง และควรมีการทบทวนและประเมินผลแนวปฏิบัติการดูแลช่องปากเพื่อการป้องกันการติดเชื้อที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator associated pneumonia: VAP) ในหน่วยงานวิกฤตเป็นระยะ

คำสำคัญ : แนวปฏิบัติการดูแลช่องปาก, การติดเชื้อที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ, พฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาล

 

Abstract

This study was an action research of research and development type. The objectives of this research were to assess nurseûs attitude of oral care for intubated patients, develop an oral care guideline and to compare pre & post nursing behavior after implementing an oral care guideline. Measurements were a questionnaire of nurseûs attitude of oral care and an observation form of nursing oral care behavior. The samples were 25 nurses in Medical Intensive Care Unit (MICU). The research was conducted into 4 steps: 1).Analyzing the current situation by assessing nursesû attitude of oral care, 2) Developing an oral care guideline using evidence based practice with nursesû participation 3). Promoting of oral care guideline by teaching, demonstrating and persuading nurses to use guideline. 4) Evaluation by comparing nursesû behavior before and after using oral care guideline. Data were analyzed using descriptive and non parametric statistics.

The results showed that the nurses in MICU had good attitudes and awareness in the importance of oral care among intubated patients; however, there were uncertain about the technique. After the oral guideline was used by teaching and demonstrating at bedside nursing care including persuaded nurse to use the guideline, they could accurately perform oral care that significantly improved in comparison to their previous oral care (P<0.05).

It is recommended that regular meetings need to be held to further development of oral guideline in different patients and it should be used in routine care continuously. In addition, frequent revision and evaluation of oral care guideline need to be conducted to prevent ventilator associated pneumonia (VAP) in critical care unit on a regular basis.

Key Words : Oral Care guideline, Ventilator Associated Pneumonia, Intubated Patient, Nursing Behaviors

Downloads

How to Cite

1.
แทนขำ อ, จิวประสาท ก, วัตราดุลย์ ด. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลช่องปากในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤต. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 11 [cited 2024 Nov. 22];23(2):59-76. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8493