ผลของโปรแกรมการสนับสนุนให้ความรู้ต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว

Authors

  • จันทร์จิรา เกียรติสี่สกุล หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี
  • สุปรีดา มั่นคง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรสา พันธุ์ภักดี คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธนรัตน์ ชุนงาม กลุ่มงานอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี

Keywords:

โปรแกรมการสนับสนุนให้ความรู้, ภาวะหัวใจล้มเหลว, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, A SUPPORTIVE EDUCATIONAL PROGRA, HEART FAILURE, SELF-CARE BEHAVIOR

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนให้ความรู้ต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนให้ความรู้ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ติดตามผลการศึกษา 4-6 สัปดาห์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนกรกฎาคม 2550 โดยใช้แบบสอบถามความรู้ในการป้องกันการคั่งของนํ้าและเกลือโซเดียม แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการคั่งของนํ้าและเกลือโซเดียม และแบบสอบถามระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการคั่งของนํ้าและ เกลือโซเดียมหลังเข้าโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<001) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการคั่งของนํ้าและเกลือโซเดียมมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<001) แต่ระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสนับสนุนให้ ความรู้ช่วยพัฒนาความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ จึงควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวต่อไป

คำสำคัญ : โปรแกรมการสนับสนุนให้ความรู้, ภาวะหัวใจล้มเหลว, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

 

Abstract

The research aimed to investigate the effectiveness of a supportive educational program on knowledge, self-care behavior, and the level of severity of heart failure based on the self-care theory proposed by Orem. The subjects were 60 patients with heart failure who had been admitted at Rajavithi Hospital, and they were selected by purposive sampling. Of these, 30 were assigned into the experimental group, and the other 30 were assigned into the control group. The former received a supportive educational program together with routine nursing care, whereas the latter received only routine nursing care. Data were collected from October, 2006 to August, 2007. The instruments used included a questionnaire concerning knowledge about the prevention of water and sodium retention; a questionnaire regarding self-care behavior to prevent water and sodium retention; and a questionnaire concerning the level of severity of heart failure. The results showed that, after participating in the supportive educational program, the experimental subjectsû knowledge and self-care behavior to prevent water and sodium retention increased with a statistical significance at the .001 level. In addition, after participating in the supportive educational program the experimental subjectsû mean scores of knowledge and self-care behavior to prevent water and sodium retention were higher than those of the control subjects with statistical significance at the .001 level. However, the level of severity of heart failure within group and between groups of subjects were not statistically significantly different at the .05 level. The findings of this study led to a conclusion that the supportive educational program could be used to promote knowledge and self-care behavior of patients with heart failure, so healthcare professionals should implement the program to offer medical and nursing care to patients with heart failure to help them maintain health and prevent possible complications to ensure quality of life.

KEYWORDS : A SUPPORTIVE EDUCATIONAL PROGRAM, HEART FAILURE, SELF-CARE BEHAVIOR.

Downloads

How to Cite

1.
เกียรติสี่สกุล จ, มั่นคง ส, พันธุ์ภักดี อ, ชุนงาม ธ. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนให้ความรู้ต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];19(2):22-39. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8496