ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่1 ต่อความรู้ ความเชื่อม้่นในการดูแลตนเองและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันวันของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย

Authors

  • ศิริวรรณ เจิมขุนทด หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี
  • มนสภรณ์ วิทูรเมธา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อำภาพร พัววิไล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1, ความรู้, ความเชื่อมั่น, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, กล้ามเนื้อหัวใจตาย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 ต่อความรู้ ความเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย อายุ 30-60 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 20 ราย และกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย จำนวน 20 ราย การเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้นเลือกโดยจับคู่ให้มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ

1.1)   แบบประเมินการออกกำลังกาย 1.2) คู่มือโรคหัวใจกับการออกกำลังกาย 1.3) โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายระยะที่ 1 1.4) แนวทางการปฎิบ้ติการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเมื่อเกิดภาวะวิกฤติทางหัวใจขณะฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ 2. เครื่องมือที่ใซ้ในการเก็บข้อมูล คือ 2.1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2.2) แบบสอบถามความรู้ในการดูแลตนเอง 2.3) แบบสอบถาม ความเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง 2.4) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายหลังได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 มีความรู้และความเชื่อมั่นในการดูแลตนเองมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ ความเชื่อมั่นในการดูแลตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ตังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1 สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายไปใช้ในการปฏิบัติเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

คำสำคัญ : โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่ 1, ความรู้, ความเชื่อมั่น, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, กล้ามเนื้อหัวใจตาย

 

ABSTRACT

The purpose of this study was to examine the effect of cardiac rehabilitation phase I program on self-care knowledge, self-care independence, and functional abilities of persons with myocardial infarction. A purposive sample of 40 adults with myocardial infarction was recruited for this study. The study was designed into control and experimental group by pair matching. The control group (n = 20) received routine nursing care. The experimental group (n = 20) received the cardiac rehabilitation phase I program, developed by the investigator. The instruments used in this study included Instruments used for the program were: 1.1) physical assessment scale 1.2) the manual for heart disease with exercise 1.3) cardiac rehabilitation phase I program 1.4) nursing care protocol for cardiac rehabilitation 2. Instruments used for collecting the data were: 2.1) personal data sheet 2.2) self-care knowledge assessment scale 2.3) self-care independent assessment scale 2.4) functional abilities assessment scale. It was found that after the program, persons with myocardial infarction have significantly higher levels of self-care knowledge and self-care independence than prior to the program (p < .001). Also, the experimental group had higher functional abilities, self-care knowledge, and self-care independence than that of the control group (p < .001). The result of this study suggests that the application of the cardiac rehabilitation phase I program in caring of persons with myocardial infarction would improve their functional abilities and self-care independence.

Downloads

How to Cite

1.
เจิมขุนทด ศ, วิทูรเมธา ม, พัววิไล อ. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในระยะที่1 ต่อความรู้ ความเชื่อม้่นในการดูแลตนเองและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันวันของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Mar. 29];19(2):40-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8498