การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการผู้ป่วยโรดปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะที่มีอาการทางคลินิกคงที่

Authors

  • สริษษา วงศ์ปรากฏ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
  • ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะอาการทางคลินิกคงที่, ภาวะทุพโภชนาการ, การส่งเลริมภาวะโภชนาการ, STABLE CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE, MALNUTRITION, NUTRITIONAL SUPPORT

Abstract

บทคัดย่อ

ปัญหาทุพโภชนาการเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อย ของการติดเชื้อและอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลรวมถึงมีการใช้บริการหน่วยฉุกเฉินเพิ่มฃื้น

แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะที่มีอาการทางคลินิกคงที่ ได้พัฒนาชื้นโดยใช้กรอบแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของ ซูคัพ ปี ค.ศ. 2000 ซึ่งประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา พบว่าภาวะทุพโภชนาการมีผลโดยตรง ต่อภาวะการเจ็บป่วยและความรุนแรงของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระยะที่ 2 การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์จากแหล่งข้อมูล ประเมินคุณภาพ ระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินความเป็นไปได้ในกานำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ ได้ทั้งหมดจำนวน 18 เรื่อง เป็น หลักฐานเชิงประจักษ์ระดับ 1 มี 2 เรื่อง, ระดับ 2 มี 6 เรื่อง, ระดับ 3 มี 3 เรื่อง ระดับ 4 มี 3 เรื่อง, ระดับ 6 มี 1 เรื่องและระดับ 7 มี 3 เรื่อง ผลการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อนำมาสร้างเป็นแนวปฏิบัติ ทางการพยาบาลประกอบด้วย 3 ส่วน (1) การประเมินภาวะโภชนาการ (2) กิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริม ภาวะโภชนาการ (3) การประเมินและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ร่างแนวปฏิบัติผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง และการนำไปใช้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและได้มีการปรับแกไขตามข้อเสนอแนะ สำหรับในระยะที่ 3 การ วางแผนนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปทดลองใช้และระยะที่ 4 วางแผนนำแนวปฏิบัติที่ผ่านการปรับแก้ไขแล้วไปใช้จริง ในหน่วยงานในอนาคต

ผู้ศึกษาเสนอแนะว่าควรเน้นการนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้และประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง พยาบาลและทีมสุขภาพอื่นควรเตรียมความรู้และทักษะในการใช้แนวปฏิบัติ รวมถึงควรทำวิจัยเชิงผลลัพธ์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติ

คำสำคัญ : ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะอาการทางคลินิกคงที่, ภาวะทุพโภชนาการ, การส่งเลริมภาวะโภชนาการ

 

ABSTRACT

Malnutrition has been documented as one of common causes of infection and acute exacerbation which accounted for hospitalization and emergency room visit in patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). A clinical nursing practice guideline (CNPG) to promote nutritional status of patients with COPD at stable stage has been developed based on Soukupûs model of evidence-based practice (2000) which consists of four phases. In phase I (Evidence-triggered phase), a clinical problem was identified and analyzed. The evidence indicates that malnutrition has a direct effect on morbidity and the severity of disease in COPD patients. In Phase II (Evidence-supported phase), evidence drown from various sources was gathered and assessed for its quality and reliability, and synthesized for its applicability. Based on evidence, 18 research studies were included in this CNPG development: two Level-1 studies, six Level-II studies, three level- III studies, three level-IV studies, one level-VI study, and three level-VII studies. The developed CNPG to promote nutritional status of COPD patients contained 3 main parts including: (1) nutritional status assessment; (2) nursing interventions to promote nutritional status; and (3) continuous evaluation and follow-up. The drafted CNPG was validated in terms of its accuracy and applicability by a group of five experts, and later revised following the expertsû recommendation. Phase III (Evidence-observed phase), a plan for testing the developed CNPG, and Phase IV (Evidence-based phase), a plan for actual implementation of the revised CNPG in the future, have been proposed. The author strongly recommends that the developed CNPG should be tried out and evaluated for its feasibility and effectiveness before its actual implementation in the future. Nurses and other health teams should be equipped with the knowledge and skills required for utilizing the CNPG. In addition, outcome research should be conducted to examine the effectiveness of the CNPG.

KEY WORDS : STABLE CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE, MALNUTRITION, NUTRITIONAL SUPPORT

Downloads

How to Cite

1.
วงศ์ปรากฏ ส, วัฒนกิจไกรเลิศ ด, พงศ์ถาวรกมล ค. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการผู้ป่วยโรดปอดอุดกั้นเรื้อรังในระยะที่มีอาการทางคลินิกคงที่. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];20(1):2-16. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8501