การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเพื่อลดการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
Keywords:
ภาวะหัวใจล้มเหลว, การกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาล, การจัดการ, Heart Failure, Readmission, ManagementAbstract
บทคัดย่อ
การกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลกระทบ ต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งสะท้อนถึงคุณภาพการดูแลรักษาของ โรงพยาบาล การจัดการเพื่อลดการกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเป็น เรื่องสำคัญที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีฃื้นและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์หลักฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเพื่อลดการกลับเข้ามา รักษาซํ้าในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาแนว ปฏิบัติการพยาบาล เพื่อลดการกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยสืบคัน จากแหล่งข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2534-2551 เป็นงานวิจัยจำนวน 38 เรื่อง จัดอยู่ในระดับ A จำนวน 23 เรื่อง ระดับ B จำนวน 1 3 เรื่อง และระดับ C จำนวน 2 เรื่อง
ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบของการจัดการเพื่อลดการกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ การให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแล ตนเอง การดูแลต่อเนื่อง และการดูแลโดยทีมสุขภาพ ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้องค์ความรู้ที่สำคัญที่จะนำ ไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดการกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และนำไปใช้ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ : ภาวะหัวใจล้มเหลว, การกลับเข้ามารักษาซํ้าในโรงพยาบาล, การจัดการ
Abstract
Readmission in patients with heart failure is an important problem affecting patients physically, mentally, emotionally, socially, and economically, as well as reflecting the hospitalûs quality of healthcare. Reducing readmission in patients with heart failure is an essential matter contributing to better quality of patientsû life and nursing quality improvement. The objective of this study was to collect and analyze research studies related to reducing readmission in patients with heart failure, in order to acquire knowledge for developing nursing practices. The explored data was from the period of 1990-2008. There were a total of 38 research studies consisting of 23 studies in level A, 13 studies in level B, and 2 studies in level C. The results of this study revealed that reducing readmission in patients with heart failure mostly consisted of 3 components, namely: 1) self-care: supportive educational intervention, 2) continuing care, and 3) healthcare team approach intervention. The results led to significantly better knowledge for nursing practices development for reducing readmission in patients with heart failure, and for providing healthcare for patients with heart failure in the future.
Keywords : Heart Failure, Readmission, Management
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก