การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจในโรงพยาบาลรามาธิบดี

Authors

  • กนกกาญจน์ กอบกิจสุมงคล คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เพิ่มสุข เอื้ออารี คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิศาล คันธารัตนกุล คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF- 36), เวชศาสตร์1สันฟูหัวใจ, Coronary Artery Bypass Graft (CABG), Valvular Replacement Surgery, Quality of Life SF-36, Cardiac Rehabilitation

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาชนิดการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) เพื่อศึกษา ถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก่อน การทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และผ่านการติดตามผลการรักษาครบ 3 ครั้ง ภายใน 1 ปี โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-36) ฉบับภาษาไทย ระหว่างมกราคม 2542 ถึงธันวาคม 2545 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ราย ที่มารับการรักษาที่หน่วย เวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นเพศชาย 15 ราย เพศหญิง 5 ราย อายุระหว่าง 47-77 ปี อายุเฉลี่ย 60.05±9.61 ปี ผลการศึกษาพบว่าการประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-36) ฉบับภาษาไทย มีคะแนนดีขึ้นในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต และ มีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งของการติดตามผลการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ยกเว้น ตัวซี้วัดความเจ็บปวดทางกายในระยะแรกหลังผ่าตัดเท่านั้น

ข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยนี้สามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบบริการในการส่งเสริม การดูแลต่อเนื่องเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

คำสำคัญ : การทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF- 36), เวชศาสตร์1สันฟูหัวใจ

 

Abstract

Retrospective descriptive study was access the perceptions of Quality of Life (QOL) by standard questionnaires (SF-36) Thai version. The study setting included patients who had had cardiac surgery (coronary artery bypass graft (CABG) and valvular replacement) at Ramathibodi hospital, during January 1999-December 2002, and had three times followed up within one year. There were 20 cases, 15 men and 5 women, and patientsû age 47-77 years (mean age 60.05 ± 9.61 years). The perceptions of Quality of Life were access by standard questionnaires (SF-36). The majority of subjects were low income, low socioeconomic status and stay up country. This study demonstrated after coronary artery bypass graft (CABG) and valvular replacement there were improvement in physical, psychological and the relationship of followed up statistically significance, except in criteria of pain score were dropped in postoperative period. Recommendation: The result of this study can be used as evidence base to improve continuing healthcare service for better quality of life in patient with post cardiac surgery.

Key words : Coronary Artery Bypass Graft (CABG), Valvular Replacement Surgery, Quality of Life SF-36, Cardiac Rehabilitation

Downloads

How to Cite

1.
กอบกิจสุมงคล ก, เอื้ออารี เ, คันธารัตนกุล ว. การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจในโรงพยาบาลรามาธิบดี. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];20(1):46-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8504