ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

Authors

  • พรพิมล อ่ำพิจิตร คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชนกพร จิตปัญญา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การดูแลตนเอง, ภาวะซึมเศร้า, การสนับสนุนทางสังคม, กลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, self care, depression, social support, acute coronary syndromes

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย การทำหน้าที่ด้านการคิดรู้ การรับรู้การควบคุมตนเอง ภาวะซึมเศร้า การทำหน้าที่ของร่างกาย และการสนับสนุนทางสังคม กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน โดยใช้กรอบแนวคิดของ Riegel กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 1 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เชิงในงานวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการทำหน้าที่ของร่างกาย แบบสัมภาษณ์การทำหน้าที่ด้านการคิดรู้ รวมทั้งแบบสอบถาม ภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการรับรู้การควบคุมตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบ ถามการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .93, .70, .85 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสัมพันธ์ สเพียร์แมน และค่าสัมประสิทธี้สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่าการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอยู่ในระดับดีทั้งโดยรวม (\inline \bar{X} = 64.34, SD = 12.28) และรายด้าน โดยค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการดูแลตนเองเพื่อคงภาวะสุขภาพ ด้านการจัดการอาการ และด้านความมั่นใจในการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (\inline \bar{X} = 71.48, SD = 11.32 ; \inline \bar{X} = 63.82, SD = 13.27 และ \inline \bar{X} = 57.72, SD = 12.24) ตามลำดับ ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบ กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - .496, P < .05) การสนับสนุนทางสังคม การทำหน้าที่ของร่างกาย และการทำหน้าที่ด้านการคิดรู้มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (r = .363, r = .225 และ r = .381) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) นอกจากนี้ อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย และการรับรู้การ ควบคุมตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษานี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้าง เสริมความสามารถในการดูแลตนเองในผู้ป่วยผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันต่อไป

คำสำคัญ : การดูแลตนเอง, ภาวะซึมเศร้า, การสนับสนุนทางสังคม, กลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 

Abstract

The purpose of this descriptive research was to study the relationship between age, length of illness, physical functioning, perceived control, cognitive function, depression, social support and self-care in patients with acute coronary syndrome. Riegelûs framework was used to guide this study. The sample consisted of 140 acute coronary syndromes patients recruited by a simple random sampling from the Out-Patients Departments of Chonburi Hospital and Phrapokkloa Hospital. The instruments were a Demographic Data From, a NYHA From, a Thai Mini Mental State Examination, a Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D), a Control Attitude Scale, the ENRICH Social Support Questionnaire and a Self-care questionnaire of Acute coronary Syndrome. The instruments were tested for their content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .93, .70, .85, and .78 respectively. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation, Spearmanûs rank correlation and Pearsonûs product-moment correlation. The results of the study showed that: Mean of self-care score in patients with acute coronary syndromes was indicated at the good level in overall (\bar{X} = 64.34, SD = 12.28) and in each dimensions. The mean score of self-care maintenance, self-care management, and self-care self confidence were at good level. (\bar{X} = 71.48, SD = 11.32; \bar{X} = 63.82, SD = 13.27, and \bar{X} = 57.72, SD = 12.24 respectively). In addition, there were significantly negative correlated between depression and self care in patients with acute coronary syndromes. (r = - .496, p < .05). Social support, Physical functioning, and Cognitive functioning were significantly positive correlated with self-care in patients with acute coronary syndromes. (r = .363, r = .225, and r = .381, p < .05). However, age, length of illness, and perceived control were not statistical significantly correlated with self-care in patients with acute coronary syndromes. Recommendation: This evidence of this study should be applied to develop the program for enhancing self-care in patients with acute coronary syndromes.

Keywords:

self care, depression, social support, acute coronary syndromes

Downloads

How to Cite

1.
อ่ำพิจิตร พ, จิตปัญญา ช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Nov. 22];20(2):2-16. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8506