ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

Authors

  • ปรวรรรณ วิทย์วรานุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชนกพร จิตปัญญา คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความคาดหวังในผลลัพธ์, ความสามารถในการทำหน้าที่, ภาวะหัวใจล้มเหลว, self efficacy, outcome expectancy, functional capacity, congestive heart failure

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความสามารถในการทำหน้าที่ของ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวัง ในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยภาวะหัวใจ ล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม 20 คนและกลุ่มทดลอง 20 คน ได้รับการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถ ในการทำหน้าที่ของร่างกาย แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกาย แบบวัดพฤติกรรมการ ออกกำลังกาย แบบวัดความคาดหวังผลลัพธ์ทางด้านบวกของการออกกำลังกาย เมื่อนำไปทดสอบหาความ เชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .87, .95 และ .88 และโปรแกรมส่งเสริมการ รับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ค่าทีและวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายหลังการทดลองมีคะแนนความสามารถในการทำหน้าที่สูงกว่า ก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -15.334, P = < .05) และเมื่อเปรียบ เทียบหลังการทดลองพบว่า กลุ่มที่เข้าโปรแกรมมีคะแนนความสามารถในการทำหน้าที่สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 118.547, p< .05)

ข้อเสนอแนะ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวให้มีความสามารถในการทำหน้าที่ของตนเองไดัดี และควรพัฒนาโปรแกรมที่ส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้เหมาะสมในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

คำสำคัญ : การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความคาดหวังในผลลัพธ์, ความสามารถในการทำหน้าที่, ภาวะหัวใจล้มเหลว

 

Abstract

The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of self efficacy and outcome expectancy promoting program on functional capacity of congestive heart failure patients. Samples were 40 patients admitted at Phrapokklo Hospital, Chantaburee province. They were selected into an experimental group and a control group with 20 patients in each group. The experimental group received the perceived self efficacy and perceived outcome expectancy promoting program in exercise, while the control group received routine nursing care. The instruments were test for content validity by 5 experts. The reliability of the perceived self efficacy questionnaires, perceived outcome expectancy questionnaires and exercise behaviors questionnaires were .87, .95 and .88. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation, t-test statistic and ANCOVA The major findings showed that the functional capacity of congestive heart failure patients after receiving the program was significantly higher than that before receiving the program at the .05 level. (t = -15.334, p = < .05) In addition, the functional capacity of congestive heart failure patients after receiving the program was significantly higher than those who receive routine nursing care care at the .05 level. (F = 118.547, p < .05) Recommendation: Promoting self efficacy program should be applied to improve functional capacity of patients with congestive heart failure. In addition, appropriate exercise program should be established for congestive heart failure patients.

Keywords : self efficacy, outcome expectancy, functional capacity, congestive heart failure

Downloads

How to Cite

1.
วิทย์วรานุกูล ป, จิตปัญญา ช. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];20(2):17-30. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8507