คุณภาพชีวิตระยะยาวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานคริทร์

Authors

  • ทัศนันท์ ศิริเสถียรรุจ พยาบาลชำนาญการ หน่วยศัลยศาสตร์หัวใจหลอดเลือดและทรวงอก ภาควิชาศัยลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วรวิทย์ จิตติถาวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยศัลยศาสตร์หัวใจหลอดเลือดและทรวงอก ภาควิชาศัยลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • โขมพักตร์ มณีวัต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, การดูแลระยะยาว, Quality of Life, Open Heart Surgery Patient, Long-Term Care

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะหลัง 2 ปีขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling)เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป จ้านวน 218 รายที่มารับการตรวจตามนัดแผนกศัลยกรรมผู้ป่วยนอก คลินิกศัลยศาสตร์หัวใจหลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนพ.ศ.2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วนคือ1)แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ด้านข้อมูลทั่วไปด้านสุขภาพ และความสามารถในการท้ากิจกรรม และ2)แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะหลัง 2 ปีขึ้นไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (มีคะแนนเฉลี่ย 87.35 คะแนนจากคะแนนเต็ม 130 คะแนน) และเมื่อจำแนกตามรายด้านพบว่าคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่คุณภาพชีวิตด้านจิตใจของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี การที่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจและรอดชีวิตในระยะยาวมีการรับรู้คุณภาพชีวิตที่ดีด้านจิตใจ นับว่าเป็นพื้นฐานส้าคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตด้านอื่นๆให้คงความสมดุลไว้ได้

ข้อเสนอแนะ : ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยด้านอื่นที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะยาว ตั้งแต่ระยะก่อนการผ่าตัดเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดให้ดียิ่งขึ้น

คำสาคัญ : คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, การดูแลระยะยาว

 

Abstract

This descriptive study is therefore aimed to examine long-term quality of life of open heart surgery patients. Purposed sampling was conducted with 218 patients who were undergone cardiac surgery after two years and followed-up as scheduled at Cardiovascular Thoracic clinic, surgical out of patient department (OPD) between July and September, 2011. The research instruments consist of 2 parts; 1) a demographic data form: general information, health status, and ability in performing activity in daily living, and 2) WHO quality of life questionnaire (Thai version) which composes four aspects: physical, psychological, social relation and environment. Data was analyzed using descriptive statistic. The results revealed the overall quality of life as well as the quality of life in the aspects of physical, social relation and environment of open heart surgery patients who were undergone surgery after two years was at a moderate level (mean score = 87.35 from 130 score) whereas the psychological aspect was at the high level. Long-term open heart surgery survivors perceived their quality of life regarding psychological aspect at good level leading to important basis in achieving the equilibrium of quality of life in the overall aspects. It is recommended that a further study should be done to explore patientsû contributing preoperatively factors which improved better quality of life in long-term survivors after open heart surgery.

Keywords : Quality of Life, Open Heart Surgery Patient, Long-Term Care

Downloads

How to Cite

1.
ศิริเสถียรรุจ ท, จิตติถาวร ว, มณีวัต โ. คุณภาพชีวิตระยะยาวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานคริทร์. Thai J. Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Apr. 25];23(1):31-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8508