ผลของการพัฒนาการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ ต่อความความสามารถของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยหนักไอซียู สถาบันโรคทรวงอก

Authors

  • ศิริรัตน์ เลิศพุฒิภิญโญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
  • บุปผาวัลย์ ศรีล้ำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
  • น้ำฝน ขัดจวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  • นวรัตน์ สุทธิพงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

Keywords:

มาตรฐานการพยาบาล, ผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ, ความสามารถของพยาบาล, หอผู้ป่วยหนักไอซียู, Nursing Standard, Critical Cardiac Surgery Patients, Nurses' Efficacy, Intensive Care Unit

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและการเสริมสร้างพลังอำนาจในความสามารถของพยาบาลวิชาชีพที่เข้าปฏิบัติ งานใหม่ในหอผู้ป่วยหนักไอซียู สถาบันโรคทรวงอก จำนวน 10 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1) ความรู้เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ 2) การรับรู้ความสามารถตนเองในการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Wilcoxon Signed-Rank test

ผลการวิจัยพบว่า ผลของการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและการเสริมสร้างพลังอำนาจในความสามารถของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใหม่ในหอผู้ป่วยหนักไอซียู น้อยกว่า 1 ปี เมื่อนำมาเปรียบเทียบความรู้ในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ ก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.80 หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 28.90 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.016) และการรับรู้ความสามารถตนเองในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ ก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.19 หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.005)

ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรมีการสนับสนุนพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักไอซียู ให้ใช้มาตรฐานที่สร้างขึ้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารทางการพยาบาลควรใช้เป็นแนวทางในการนิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งควรมีการทบทวนมาตรฐานทุก 2 ปี เพื่อเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยและวิชาชีพพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ : มาตรฐานการพยาบาล, ผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ, ความสามารถของพยาบาล, หอผู้ป่วยหนักไอซียู


Abstract

This quasi-experimental study aimed to assess the effects of nursing standard development for the critical cardiac surgery patients and empowering10 new registered nurses in Intensive Care Unit (ICU), Central Chest Institute of Thailand. The study was carried out from May to October 2010. Data was collected by using 2 questionnaires: 1) the questions about knowledge of nursing care cardiac surgery patients; 2) the questions about perceived self-efficacy. The data was analyzed by using percentage, means, standard deviation and Wilcoxon Signed-Rank test.

The results of the study showed that. After using the nursing standard development for the critical cardiac surgery patients and empowering 10 new registered nurses in ICU, the scores of their knowledge (28.90 scores) were significantly higher than before (26.80 scores) (p-value = 0.016).

The perceived self-efficacy scores after using the nursing standards (4.05 scores) were also significantly higher (p-value = 0.005) than before (3.19 score).

This study suggests that nurse administration should have encouraged the registered nurses, who work in ICU, to use the nursing standards created in this study. This standard can also be used for monitoring and evaluating the quality of nursing care. However, the nursing standard should be revised every 2 years in order to create an efficient nursing standard, which will benefit for patients as well as nursing profession.

Keywords : Nursing Standard, Critical Cardiac Surgery Patients, Nurses' Efficacy, Intensive Care Unit

Downloads

How to Cite

1.
เลิศพุฒิภิญโญ ศ, ศรีล้ำ บ, ขัดจวง น, สุทธิพงศ์ น. ผลของการพัฒนาการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ ต่อความความสามารถของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยหนักไอซียู สถาบันโรคทรวงอก. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Nov. 22];23(1):55-63. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8511