ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

Authors

  • ฐิติกานต์ กาลเทศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันโรคทรวงอก
  • นรลักขณ์ เอื้อกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความร่วมมือในการรับประทานยา, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, Medication Adherence, Valvular replacement patients, Anti-coagulant

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ เพื่อศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของ

ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ปัจจัย ได้แก่ เพศ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การสนับสนุนทางสังคม กับความร่วมมือในการรับประทาน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ประยุกต์แนวคิดของ Pender (2006) และการสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ทั้งเพศหญิงและชาย จำนวน 121 ราย ที่มารับบริการ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม สถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การ รับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ สหสัมพันธ์ไบซีเรียล และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 49-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.4 (\inline \bar{X} = 48.21, SD = 8.30) มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้อุปสรรค โดยเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 (SD = 0.25), 2.68 (SD = 0.38), 2.85 (SD = 0.30), 3.09 (SD = 0.54) และ 1.60 (SD = 0.21) ตามลำดับ ความร่วมมือในการรับประทาน ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ในระตับดีมาก (\inline \bar{X} = 3.64, SD = 0.21) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ ตัวแปร พบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (rbis = -.050 , P = < .585 ) โดยที่เพศชายและเพศหญิงมีคะแนนความร่วมมือ ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -.547, p>.05) ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการสนับสนุนทางสังคม (r =.220,.207,.1 95 และ .368 ตามลำดับ) การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.238)

ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทาน ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี

คำสำคัญ : ความร่วมมือในการรับประทานยา, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

 

Abstract

The purposes of this descriptive correlation study were to examine the medication adherence and to investigate the relationships between age, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, social support, and anti-coagulant adherence. One hundred twenty-one out patients with valvular replacement taking anti-coagulant medication were recruited in the surgery heart clinic at Central chest Institute, the Police General Hospital, and Phramongkutklao Hospital. Questionnaires were composed of demographic information, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers, social support, and anti-coagulant medication adherence questionnaire. Descriptive statistics (e.g., percent, mean, standard deviation), Biserial correlation coefficient and Pearson's Product Moment Correlation were used to analyze data.

The results showed that more than half (55.4%) of subjects were females with the age between 49 and 59 years. (\bar{X} = 48.21, SD = 8.30). Mean scores of perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, social support, and perceived barriers were 2.66 (SD = 0.25), 2.68 (SD = 0.38), 2.85 (SD = 0.30), 3.09 (S = .54), and 1.60 (SD = 0.56), respectively. Mean score of anti-coagulant medication adherence was at a very good level (\bar{X} = 3.64, SD = 0.21). There was no significant relationship between gender and anti-coagulant medication adherence at the level of .05 (rbis = -.050, p < .585). Whereas, there was no significant relationship between gender and anti-coagulant medication adherence in valvular replacement patients at the level of .05 (t = -.547, p > .05). Correlation analysis indicated that there were positively significant relationships between perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, social support, and anticoagulant medication adherence at the level of .05 (r = .220, .207, .195, and, .368, respectively). There was negatively significant relationship between perceived barriers and anti-coagulant medication adherence at the level of .05 (r = -.238).

These findings would be applied to develop the anti-coagulant medication adherence promoting program in order to modify health promoting behaviors and maintain good quality of life.

Keyword : Medication Adherence, Valvular replacement patients, Anti-coagulant

Downloads

How to Cite

1.
กาลเทศ ฐ, เอื้อกิจ น. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Nov. 25];22(2):2-14. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8513