ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานในผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม
Keywords:
ผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม, เครื่องช่วยหายใจ, การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน, Critically ill medical patients, Mechanical ventilation, Prolonged mechanical ventilationAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานในผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม หอผู้ป่วยวิกฤตระบบหัวใจ หอผู้ป่วยวิกฤตทางเดินหายใจโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2552 จำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย แบบประเมินโรคร่วม แบบประเมินความรุนแรงของการเจ็บป่วย แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย แบบวัดการรับรู้คุณภาพการนอนหลับ และแบบมาตรวัดความวิตกกังวล วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย โดยใช้สถิติพรรณา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท่ไบซีเรียล วิเคราะห์อำนาจการทำนายโดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติกแบบเดินหน้า
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานคิดเป็นร้อยละ 80.8 และพบว่าปัจจัยการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล โรคร่วม ความรุนแรงของการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rbp =.402; rbp= .512; rbp = .352; rbp = .629, โดย p < .05 ) การรับร้คุณภาพการนอนหลับมีความสัมพันธ์เชิงลบ (rbp= -.261, P < .05) ส่วนอายุไม่มี ความสัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน (rbp = .160, P > .05) ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และความวิตกกังวลสามารถร่วมกันทำนายการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานในผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม ได้ร้อยละ 79.5 (Negelkerke R2 = .795) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระตับ .05
ข้อเสนอแนะ พยาบาลควรนำปัจจัยความรุนแรงของการเจ็บป่วยและปัจจัยความวิตกกังวลไปสร้าง แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม
คำสำคัญ : ผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม, เครื่องช่วยหายใจ, การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน
ABSTRACT
This correlational predictive research aimed to explore factors influencing prolonged mechanical ventilation (PMV) in critically ill medical patients using the Roy Adaptation Model theory as a conceptual framework. The sample group consisted of 120 patients who had been admitted to the medical intensive care unit (ICU), coronary care unit, and respiratory care unit at Siriraj Hospital and King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand, during July to December of 2009. Data collection was performed by using the Carlson co-morbidity index score, the Acute Physiology and Chronic Health Evaluation II (APACHE II), the perception of illness scale, the perception of quality sleep scale, and the visual analog anxiety scale. Descriptive statistics, point biserial correlations and forward elimination logistic regression were used in data analysis. The results of the study showed that there were prolonged mechanically ventilated patients in the medical ICU 80.8%. Significantly positive relationships between PMV and perception of illness, anxiety, co-morbidity, and severity of illness (rbp = .402; rbp = .512; rbp = .352; rbp = .629, by p < .05) were found. Perception of sleep quality had a significantly negative relationship with PMV (rbp = -.261, p < .05), but age and PMV were not related (rbp = .160, p > .05). Finally, severity of illness and anxiety could predict PMV, accounting for 79.5% of the variance (Negelkerke R2 = .795). Based on these findings, it is recommended that severity of illness and anxiety be included in a nursing practice guideline to reduce the length of mechanical ventilation for critically ill medical patients.
Keywords : Critically ill medical patients, Mechanical ventilation, Prolonged mechanical ventilation
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ มาก่อน และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทาน และแก้ไขต้นฉบับตามเกณฑ์ของวารสาร ในกรณีที่เรื่องของท่านได้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ถือว่าเป็น ลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก