ประสิทธิผลของการผ่าตัดหัวใจแบบ Fast-track ในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงโคโรนารี

Authors

  • พรพิมล มาศนรากรณ์ หัวหน้าหอผู้ป่วย หน่วยบำบัดพิเศษหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล กิจจานนท์ อาจารย์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุชาต ไชยโรจน์ อาจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงโคโรนารี, ชนิดไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม, ผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงโคโรนารี, fast-track, off pump coronary artery bypass, coronary artery bypass patients

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเซิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระยะเวลาที่พักในไอซียู ระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลและการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี ชนิดไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (off pump coronary artery bypass graft, OPCAB) แบบธรรมดากับแบบ fast track วิธีการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ประวัติการรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด OPCAB โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ระยะเวลา 12 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย อธิบายและเปรียบเทียบตัวแปร ค่าเฉลี่ยผลการศึกษาของทั้ง 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ Pearson Chi-square, Fisher’s exact test และ t-test ผลการศึกษา ข้อมูลผู้ป่วยที่เหมาะสมนำมาวิเคราะห์ได้ 103 ราย ในกลุ่มธรรมดา มีระยะเวลาที่พักในไอซียูเฉลี่ย 5.91±2.47 วัน ส่วนมาก (mode) 6 วัน ระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 13.67±5.01 วัน ส่วนมาก (mode) 11 วัน ในกลุ่ม fast track มีระยะเวลาที่พักในไอซียเฉลี่ย 3.77±1.29 วัน ส่วนมาก (mode) 4 วันระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1 1.22+3.35 วัน ส่วนมาก (mode) 10 วัน คุณลักษณะ ปัจจัยเสี่ยงก่อนผ่าตัด และการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดของทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนมากไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การมาโรงพยาบาล แบบฉุกเฉิน อายุ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ (ejection fraction) และการใช้เครื่องมือพิเศษ intra aortic balloon pump การเกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติหลังผ่าตัด ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่พักในไอซียู และ ระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลหลังผ่าตัดของกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบ fast track น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการ ผ่าตัดแบบธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อแยกกลุ่มย่อยวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่พักใน ไอซียูและระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด ของกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบ fast track น้อยกว่ากลุ่ม ที่ได้รับการผ่าตัดแบบธรรมดา ยกเว้น มาโรงพยาบาลแบบฉุกเฉิน อายุมากกว่า 69 ปี ดัชนีมวลกาย มากกว่า 30 และประว้ติโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าดัดแบบ fast track มีระยะเวลาที่พักในไอซียู และระยะเวลาที่ อยู่ในโรงพยาบาลหลังผ่าดัดน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าดัดแบบธรรมดา โดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศชาย อายุ น้อยกว่า 70 ปี และไม่'โซ่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนการพยาบาลที่ครอบคลุมเพื่อป้องกัน และลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ : fast-track, การผ่าดัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงโคโรนารี, ชนิดไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม, ผู้ป่วยผ่าดัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงโคโรนารี

 

Abstract

The objectives of this descriptive research were to examine and compare the length of stay in intensive care unit, the length of post operative hospital stay and post operative complications in patients who underwent conventional off pump coronary artery bypass surgery (OPCAB) versus fast track OPCAB. The medical records of all patients who had undergone OPCAB in 12 months interval at the university hospital had been retrospectively reviewed. Data analysis was done by using descriptive statistics. Pearson Chi-square, Fisherûs exact test, and t-test were used to explain and compare outcomes in both group of patients. An appropriate 103 medical records were enrolled in this study. In conventional group, the average length of ICU stay was 5.91±2.47 days, mode was 6 days, the average length of post-operative hospital stay was 13.67±5.01 days, and mode was 11 days. In fast track group, the average length of ICU stay was 3.77±1.29 days, mode was 4 days. The average length of post-operative hospital stay was 11.22±3.35 days, and mode was 10 days. Most of the patientûs characteristics, risk factors, and the incident of post operative complications of both groups were not significantly different except emergency case, age, ejection fraction, intra aortic balloon pump used, and post operative arrhythmia. The average of length of ICU stay, length of post operative hospital stay of fast-track group was less than conventional group significantly. Although divided to subgroup, the average of length of ICU stay and length of post operative hospital stay of fast-track group was less than conventional group significantly except emergency case, older than 69 year, body mass index more than 30 and history of chronic obstructive pulmonary disease.

In conclusion, the patients who underwent fast track of OPCAB had less length of ICU stay and less postoperative hospital stay than conventional off pump coronary artery bypass, especially in male patient who were younger than 70 years old and were elective surgery. Thus, nurses should establish the comprehensive plan to prevent and reduce post operative complications to improve quality of nursing care.

Keywords : fast-track, off pump coronary artery bypass, coronary artery bypass patients

Downloads

How to Cite

1.
มาศนรากรณ์ พ, กิจจานนท์ น, ไชยโรจน์ ส. ประสิทธิผลของการผ่าตัดหัวใจแบบ Fast-track ในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงโคโรนารี. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];22(1):28-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8529