ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อความรู้เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่2

Authors

  • ดวงกมล วัตราดุลย์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ศิริพรรณ ภมรพล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ศิริกุล ภมร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • สุวลี อุ่นจิตร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • ศิโรรัตน์ แก้ววงดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • เหรียญทอง นันทจินดา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Keywords:

การสร้างเสริมสุขภาพ, เบาหวานชนิดที่ 2 ความรู้, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, Health Promotion, Type2 diabetes, Knowledge, behavioral change

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเพิ่มความรู้เรื่องอาหารและการออกกำลังกายและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มาใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ จำนวน 48 ราย โดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ “รัก ลด หวาน” ราย กลุ่ม ประกอบด้วย การฝึกทักษะการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวาน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองในกลุ่ม และมอบวิดีทัศน์และคู่มือให้แก่กลุ่ม ตัวอย่างไปปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและฝึกออกกำลังกายที่บ้าน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ ความรู้ในการออกกำลังกายและการเลือกรับประทานอาหารก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม แบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประเมินหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการรับประทานอาหารและออกกำลังกายที่ เหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจ ในการเช้าร่วมโปรแกรมในระตับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย = 4.65) เมื่อติดตามภายหลังเช้าร่วมโปรแกรม 1 เดือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่งแบบประเมินกลับมา 26 ราย (ร้อยละ 54.17) ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.46 มีความสำเร็จ ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยการออกกำลังกาย และการเลือกรับประทานอาหารอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 6 เดือน

ผลการวิจัยเสนอแนะให้นำโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาใช้ในการจัด บริการสุขภาพในแผนกผู้ป่วยนอกเพื่อติดตามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง พยาบาลควรส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้เป็นเบาหวานมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมและ ยั่งยืนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้เป็นเบาหวาน

คำสำคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพ, เบาหวานชนิดที่ 2 ความรู้, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 

Abstract

The purpose of this one group pre-and posttest design study was to investigate the effects of health promotion program to improve the diabetes diet and exercise knowledge and behavioral change in persons with type 2 diabetes. Purposive sampling of 48 persons with type 2 diabetes at Out Patient Department of King Chulalongkorn Hospital was conducted. Rak Lod Wan (Love to Reduce Sugar) program consisted of workshop of exercise training, providing information of appropriate D. M diet, and group sharing of self-care experiences. After workshop, they received exercise VCD and hand books to practice exercise and modify DM. diet at home. Data collection of knowledge of exercise and D.M. diet questionnaire were evaluated before and after the intervention. In addition, satisfaction and stage of change behavior questionnaire modified were evaluated after one month of program. Data analyses using descriptive statistic and paired t-test. It showed that they were significant improvements of mean score of exercise and D.M. diet knowledge in the participants. (p < 0.05). Moreover, all of them evaluated the satisfaction of program as excellent (mean = 4.65). On average 54.17% of them sent back the behavior change questionnaire by mail after one month. About 38.46% of them reported that they were successful in achieving a proposed behavioral change by continuously practicing exercise and choosing the properly diet along 6 months. This health promotion program for persons with type 2 diabetes should be applied in out patient unit to monitor health promotion behavior. Nurses should promote and support persons with type 2 diabetes to have sustainable and better health promotion to prevent complication and to improvetheir quality of life.

Keywords : Health Promotion, Type2 diabetes, Knowledge, behavioral change

Downloads

How to Cite

1.
วัตราดุลย์ ด, ภมรพล ศ, ภมร ศ, อุ่นจิตร ส, แก้ววงดี ศ, นันทจินดา เ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อความรู้เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่2. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2024 Dec. 23];21(1):31-44. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8532