การสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคลมชักและญาติต่อคุณภาพบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Authors

  • เพ็ญจันทร์ แสนประสาน ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (บริหารพยาบาล), รองผู้อำนวยการศูนย์โรคลมชัก สถาบันจุฬาภรณ์
  • สังวาลย์ สุวโรพร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • ภัทรานิษฐ์ เมธีพิสิษฐ์ พยาบาลศาสตร์บัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • วราภรณ์ กรงทอง พยาบาลศาสตร์บัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • อาภาภรณ์ อานามวงศ์ พยาบาลศาสตร์บัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

Keywords:

ความพึงพอใจของผู้ป่วย, การจัดบริการผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคลมชัก, ผู้ป่วยนอก, Patient, satisfaction, Quality of care, Patients service, Epilepsy patient, Outpatient

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคลมชักและญาติต่อคุณภาพบริการ ที่ได้รับในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจมาตรวัดคะแนน 1 ถึง 5 สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยโรคลมชักและญาติ จำนวน 357 ราย ที่เข้ารับการตรวจรักษาในคลินิกโรคลมชัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ โดยใช้ไคสแควร์และสัมประสิทธี้สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยและญาติมีระดับความพึงพอใจมากในบุคลากรแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความรู้ความชำนาญในการตรวจรักษา (M = 4.27) ส่วนความพึงพอใจในคุณภาพบริการอื่นๆ อยู่ในระดับพึงพอใจแต่ต้องปรับปรุง ได้แก่ ด้านลงทะเบียน (M = 3.66) ด้านสถานที่/บริเวณรอตรวจ (M = 3.42) ด้านตรวจวินิจฉัยพิเศษของระบบโรคลมชัก (M = 3.77) ด้านประสานงานเพื่อรักษาต่อเนื่องและนัดตรวจครั้ง ต่อไป (M = 3.91) และระดับความพึงพอใจน้อยและสิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ ระยะเวลาในการรอพบแพทย์ สถานที่บริเวณรอตรวจ การเสริมสร้างบรรยากาศในการรอตรวจ ระยะเวลารอคอยในการตรวจวินิจฉัย และ บริการร้านอาหารในโรงพยาบาลที่ไม่เพียงพอ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจ พบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในคุณภาพบริการทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้รับบริการที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีระดับความพึงพอใจในบริการตา และปัจจัยด้านเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในคุณภาพบริการทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการศึกษานี้เสนอแนะให้มีการจัดบริการตรวจรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก โดยลดระยะเวลารอในการพบแพทย์ ลดระยะเวลารอคอยเพื่อตรวจวินิจฉัย ห้องตรวจควรมีความเป็นส่วนตัว และควรมีคู่มือปฏิทินบันทึกอาการซักและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชักสำหรับผู้ป่วยและญาติ

คำสำคัญ : ความพึงพอใจของผู้ป่วย, การจัดบริการผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคลมชัก, ผู้ป่วยนอก

 

ABSRACT

The purpose of this study was to explore the satisfaction of epilepsy patients and families on service quality at outpatient epilepsy clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital. A survey study using interview and questionnaire of satisfaction index (level 1 to 5). The sample comprised 357 epilepsy patients and families. Descriptive statistics and the correlation Chi-Square and Spearman rank correlation coefficient were used to analyze a relation between patients, personal factors and level of satisfaction.

The results of study showed that patients were higher score satisfied in the treatment by an expert epileptologist (M = 4.27) The other part of services were middle level scores, including registration (M = 3.66), clinic facilities (M = 3.42), special diagnosis of epilepsy (M = 3.77), referral and continuous care (M = 3.91). In addition the lower scores of satisfaction which should be improved were waiting time before meeting an epileptologist, clinic facilities such as physical environment and convenience, the waiting time of the investigation for diagnosis and food shops. The factor of patients, education level was negative correlated with all parts of service significantly (p < .05). The patients with higher education have low level of satisfaction of services. However, patients' gender was not correlated with service satisfaction.

Suggestion: To improve service quality for epilepsy patients, the waiting time before meeting an epileptologist, time of the investigation for diagnosis should be reduced. Moreover, examination room should be more private, and the Epilepsy Clinic should provide the seizure calendar and handouts for the epilepsy patients.

Key words : Patient, satisfaction, Quality of care, Patients service, Epilepsy patient, Outpatient

Downloads

How to Cite

1.
แสนประสาน เ, สุวโรพร ส, เมธีพิสิษฐ์ ภ, กรงทอง ว, อานามวงศ์ อ. การสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคลมชักและญาติต่อคุณภาพบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. Thai J Cardio-Thorac Nurs. [Internet]. 2013 May 12 [cited 2025 Jan. 12];21(2):34-49. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/8540