ความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคอุจจาระร่วงของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • อลงกฎ ดอนละ โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรค อุจจาระร่วง และพฤติกรรมในการป้องกันโรค อุจจาระร่วง ของประชาชนในอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรค อุจจาระร่วงของประชาชนอำเภอสระใคร จังหวัด หนองคาย

รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบ Cross-sectional descriptive study ทำการ ศึกษาในโรงพยาบาลสระใคร กลุ่มตัวอย่าง เป็น ประชาชนตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่อำเภอสระใคร ตั้งแต่ปี 2560 ทั้ง 3 ตำบล จำนวน 406 ราย ระยะเวลาในการวิจัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 – 31 ตุลาคม 2562 เครื่องมือเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วงจำนวน 17 ข้อ และ 3) การปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง จำนวน 17 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation)

ผลการศึกษา พบว่า คะแนนด้านความรู้ ของกลุ่มตัวอย่าง เรื่องโรคอุจจาระร่วง เฉลี่ยเท่ากับ 0.61 (SD= 0.49) คะแนนด้านการปฏิบัติตัวของ กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.35 หมายถึง มีการ ปฏิบัติเป็นประจำ และความรู้ มีความสัมพันธ์ทาง สถิติกับการปฏิบัติตัวในเรื่องการควบคุม ป้องกัน โรคอุจจาระร่วง ( p < 0.05)

References

1. World Health Organization. (2013). World health statistics. Geneva: Publications of the World Health Organization

2. สำนักระบาดวิทยา. (2561). สถานการณ์ โรคอุจาระร่วง [อินเทอร์เน็ต].กรม ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [เข้า ถึงเมื่อ8 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php

3. รายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หนองคาย. (2561)

4. รายงานการเฝ้าระวังโรค รพ.สระใคร อำเภอ สระใคร จังหวัดหนองคาย. (2561)

5. พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ. ธรรกมลการพิมพ์.

6. วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้กับ การบริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อ สังคม.

7. สำนักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่ง ชาติ. (2548). การจัดการความรู้จาก ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ

8. สำนักการจัดการความรู้. (2558). คู่มือการ จัดการความรู้กรมควบคุมโรค.กรม ควบคุมโรค. นนทบุรี.

9. ไมลา อิสสระสงคราม, ทัศนีย์ บุญประครอง, เกษม จันทร์แก้ว. (2558). ความรู้และ การปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรค ติดต่อของอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในศูนย์ พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ.2558;31:80-91

10. รัชนี ธีระวิทยเลศ, สุกัญญา จงถาวรสถิต, ปิ่นนภ นรเศรษฐพันธ์. (2552). ความรู้และ พฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กในการป้องกัน โรคอุจจาระร่วงในเด็ก.วารสารควบคุม โรค.2552;35:39-46

11. นันท์นภัส เพ็ชรสุวรรณ, สุเวช พิมน้ำเย็น. (2560). ผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริม การปฏิบัติสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลต่อ ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการป้องกันโรค อุจจาระร่วงในชุมชนไทยภูเขาเผ่าม้ง อำเภอ งาว จังหวัดลำปาง. สมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระ ราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.2560;6:15-26

12. อุไร ชำนาญค้า. (2553). ผลการใช้โปรแกรม ให้ความรู้อย่างเป็นระบบต่อความรู้ การ รับรู้ และพฤติกรรมการ ปฏิบัติเพื่อ ป้องกันโรคอุจจาระร่วงในกลุ่มผู้ดูแลเด็ก โรคอุจจาระร่วงที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี. วารสารกองการพยาบาล. 2553;37:39-50

13. พรทิพย์ แก้วชิน. (2554). ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ดูแลในการ ป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กระหว่าง อายุ 0-5 ปี กรณีศึกษาหมู่บ้านระกาย ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา.วิทยาลัยนครราชสีมา. 2554;5:17-24

14. เดือนเพ็ญ แซ่เตี้ยว. (2556). ความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้และทักษะกับพฤติกรรม ในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงของ ประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหา บัณฑิต].เพชรบุรี:มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี.

15. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ:การวัด การเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:บริษัทโอเดียน สโตร์. 16. อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2537). การ สื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30