โมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อจากการทำงานของกลุ่มผู้เชือดชำแหละสัตว์ปีก ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี กรณีโรคไข้หวัดนก
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อจากการทำงาน, ผู้เชือดชำแหละสัตว์ปีก, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรค, ความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ โมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อจากการทำงานของกลุ่มผู้เชือดชำแหละ สัตว์ปีกรายย่อย ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี กรณี โรคไข้หวัดนก ตัวอย่างที่ใช้ศึกษา เป็นกลุ่ม ผู้เชือดชำแหละสัตว์ปีกรายย่อยใน 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สกลนคร และนครพนม เลือก 5 อำาเภอต่อจังหวัด รวมทั้งสิ้น 20 อำเภอ ไม่แยก เพศ อายุ 18 - 60 ปี ไม่มีอาการหรือความผิดปกติทาง ร่างกาย ทำงานเชือดชำแหละสัตว์ปีกเป็นหลักติดต่อ กันตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปและได้รับ ค่าตอบแทนจาก การทำงานนี้ จำนวน 320 คน กลุ่มตัวอย่างได้จาก การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือเก็บรวบรวม ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้าง ขึ้น แบบสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานของ โรงเชือดชำแหละ และสถานที่กักขังสัตว์ปีกเพื่อรอ การเชือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการป้องกันการติด เชื้อด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตามลำดับ ความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยนำด้านระดับความรู้เรื่องไข้หวัดนก โดยรวม อยู่ในระดับปานกลางและด้านระดับ การรับรู้อยู่ในระดับมาก สิ่งที่มีรวมถึงที่ได้รับการ สนับสนุนมากที่สุด ในส่วนของปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การได้รับอุปกรณ์ สารเคมีสนับสนุนในการป้องกัน โรค (ร้อยละ 91.7) และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับ ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรค (ร้อยละ 96.2) โดยโมเดล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติด เชื้อฯ สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการ ติดเชื้อจากการทำงานฯ ได้ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่ การมีบทบาทเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ ทำงานเกี่ยวกับโรค การ ได้รับสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ สารเคมีและสิ่งของอื่นๆ ในการป้องกันโรค และระดับของการรับรู้เกี่ยวกับความรุนแรงของโรค โดยโมเดล 1 ปัจจัยทุกตัวที่มี อิทธิพลร่วมกัน สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการ ป้องกันฯ ถูกต้อง ร้อยละ 67.1 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ โมเดล 2 ปัจจัยทุกตัวที่ มีอิทธิพลร่วมกัน สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการ ป้องกันฯ ถูกต้อง ร้อยละ 65.7 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
References
2. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข (สวรส). (2549). สืบค้น เมื่อ 16 สิงหาคม พ.ศ.2556 จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/641?locale-attribute=th คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรค ติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. (2555).แผนยุทธศาสตร์เตรียมความ พร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559). กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย
3. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556.) สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2556 จาก http://ict.dld.go.th/th2/index.php/th/report/276-report-thailand-livestock/reportsurvey56/480-report-survey56-2
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว