รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในตำบลโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุ, การจราจรทางบกบทคัดย่อ
ปัญหาอุบัติทางถนนในเขตตำบลโคกหล่ามเป็นปัญหาที่สำคัญจากสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของตำบลโคกหล่าม ปี 2561 มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็น 25.4 ต่อแสนประชากร การบาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์มีสถิติมากเป็นอันดับหนึ่งจำนวน 43 ราย คิดเป็น 1,067 ต่อแสนประชากร สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเมาแล้วขับ และสภาพสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่าม จึงได้นำกระบวนการการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนน โดยประยุกต์ใช้ระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) เพื่อป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ตำบลโคกหล่าม ให้เกิดความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในเขตตำบลโคกหล่าม วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยใช้วงจร PAOR (P=Plan, A=Act, O=Observe, R=Reflect) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในเขตตำบลโคกหล่ามผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนเพื่อคนตำบลโคกหล่าม “KHOK- LAM Model” โดยความร่วมมือร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาและโครงสร้างการจราจรในชุมชน แก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงร้อยละ 100 ทำให้เกิดความปลอดภัยในการจราจรการใช้รถใช้ถนน จำนวนการเกิดอุบัติเหตุลดลงร้อยละ 48.8 และไม่มีผู้เสียชีวิต นักเรียนและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีความรู้เรื่องวินัยจราจรเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
References
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แผนดำเนินการระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2558-2561) กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: 2558.
Thailand GRSP. สถิติจากคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ [อินเตอร์เนต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.tarc.ait.ac.th/th/link.php
กองวิศวกรรมจราจร กรมทางหลวง. สถิติอุบัติเหตุจราจร. กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. กรุงเทพ: 2560.
กรมทางหลวง. การวิจัยเพื่อจัดระดับความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนด้วยวิธีทางสถิติขั้นสูง. รายงานวิจัยฉบับที่ วพ. 227; สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. กรุงเทพ: 2549.
กรมทางหลวง (Department of Highways Data), ข้อมูลสถิติ, ภูมิศาสตร์สารสนเทศด้านการขนส่งและจราจร, สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) กระทรวงคมนาคม Ministry of Transport) [อินเตอร์เนต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.otp.go.th/th/index.php/statistic.html
ป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ. การป้องกันอุบัติเหตุจากภัยจราจร. คณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: 2553.
จุฬาภรณ์ สันติกาญจน์. การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรของวัยรุ่นในและนอกระบบการศึกษา. ขอนแก่น : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2545.
ปาริชาต สถาปิตานนท์. เมาไม่ขับกับสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 10& L จำกัด; 2530.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว