การพัฒนารูปแบบการทำงานของพยาบาลชุมชน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เสนีย์ พระโพธิ์ โรงพยาบาลพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
  • ทวีวรรณ ศรีสุขคำ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, พยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการทำงานของพยาบาลชุมชน ตำบลม่วงคำ ในพื้นที่ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผู้เข้าร่วมวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 130 คน โดยเป็นกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 18 คน เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องดูแลที่บ้าน และกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านจำนวน 63 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เป็นพยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุข รวม 46 คน และกลุ่มนักวิจัยจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางการประชุมแบบประเมิน และแบบสอบถาม ขั้นตอนการดำเนินการมีสามขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกเป็นการพินิจพิเคราะห์ การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การคิดวิเคราะห์ การประชุมทีมผู้ให้บริการและผู้นำชุมชน ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้องในการให้บริการ และการประเมินโครงการวิจัยกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และ Kruskal-Wallis test, paired t-test และ Wilcoxon-sign rank test

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการทำงานของพยาบาลชุมชนตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีองค์ประกอบของรูปแบบคือ 1) ผู้เกี่ยวข้องในชุมชนและสถานบริการ ได้แก่ผู้นำชุมชน ผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครชุมชน พยาบาลที่ปฏิบัติงานในชุมชน และญาติผู้ป่วยในชุมชน 2) องค์กร ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มพยาบาล องค์กรด้านการเมืองในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล และกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 3) กระบวนการทำงาน มีการทำงานทั้งที่ในระดับชุมชนและที่สถานบริการ โดยกระบวนการทำงาน ได้แก่ กิจกรรมการประชุม ผู้เกี่ยวข้องในชุมชนและสถานบริการ การพัฒนาศักยภาพผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านและญาติ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน และการทบทวนการทำงานในกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง โดยประเด็นเป็นการทำงานเยี่ยมบ้าน ความรู้ที่จำเป็นเพื่อดูแลผู้ป่วยที่บ้าน บทเรียนการทำงานที่ผ่านมาและการทำงานในอนาคต ทั้งนี้มีลักษณะการทำงานเป็นการทำงานอย่างไม่เป็นทางการโดยเฉพาะในบ้านของผู้ป่วยในชุมชนใช้การเป็นพี่เลี้ยง ส่วนการทำงานที่เป็นทางการจะเป็นการประชุมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล และการจัดฝึกอบรมที่มีกระบวนการทั้งการสอนและการบรรยาย และ 4) การประเมินผลในการทำงานชุมชนมีการติดตามการทำงานของผู้เกี่ยวข้องในองค์กรและกระบวนการทำงาน โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพจะได้ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งให้ความสำคัญกับลักษณะการทำงานที่เน้นในการประชุม เพื่อถอดบทเรียนและการสำรวจข้อมูลในกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง และยังพบว่ารูปแบบที่พัฒนานี้ทำให้คะแนนความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านความพึงพอใจและแรงจูงใจและขวัญกำลังใจของอาสาสมัครสาธารณสุข และพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้น โดยพบว่า คะแนนความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) และ แรงจูงใจและขวัญกำลังใจของพยาบาลชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)

References

World Health Organization.(2014). Global status report on noncom municable diseases Geneva: WHO; 2014.

BLTBANGKOK. ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยในอนาคต. [online] Availablefrom: http://www.bltbangkok.com/WellBeing [2019 Febuary 28]

Clemen-Stone, S., Eigsti, D.G., & Mc Guire, S. L. Comprehensive community health nursing Family, aggregate & community practice. 4 th ed. St.Louis : Mosby Year Book;1995.

มาลีจิตร์ ชัยเนตร. ผลของการเยี่ยมบ้านต่อการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยอุดกั้นเรื้อรัง อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่; 2552.

อรวรรณ เกตุแก้ว. การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านสำหรับทีมสุขภาพโดยวิธีวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาสังคมศาสตรการแพทย์ คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

Hoontrakul D, Sritanyarat W, Nuntaboot K and Premgamone A. (2008). Development of Age-Friendly Primary Health Care: Case Study of One Primary Care Unit. PNR JNR.2008; 12(2): 131-141.

จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์ ศศิธร วรรณพงษ์ การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใล้มเหลวในจังหวัดนครนายก: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารสภาการพยาบาล. 2557;29(4): 64-78.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติและคณะ. รูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา วารสารนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัย. 2559; 8 (3) : 27-40.

ศิริพร เสมสาร, สุชีรา ชัยวิบูลย์ธรรม และพิชัยจันทร์สีวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของญาติผู้ดูแลต่อผลลัพธ์ด้านญาติผู้ดูแลและด้านผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังระยะท้าย. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2561;5 (1): 112-126.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, ทิพย์สุดา ลาภภักดี, พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์ (บรรณาธิการ). การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข: บริษัท สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด; 2556.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์ และทิพย์สุดา ลาภภักดี. (บรรณาธิการ). มาตรฐานการพยาบาลชุมชน. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข : บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2559.

Stringer, E. T. Action research : third edition. California: SAGE; 2007.

Cohen, H. Statistics power analysis for the behavior science. (2nded). Hillsdale, NJ: Lawrence Erbaun; 1988.

ชุติกานต์ หฤทัย, อมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์ และโศภิษฐ์ สุวรรณเกศาวงษ์. (บรรณาธิการ.) ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข : บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2559.

ชุติกาญจน์ หฤทัย, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, ศิริมา ลีละวงศ์, ขวัญนภา ขวัญสถาพรกุล, พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์. แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2561. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข : บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2559.

ภิญโญ อุทธิยา, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล และพิชัย จันทร์ศรีวงศ์. ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(3):371-384; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15