รายงานการสอบสวนการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร 16 เมษายน 2563

ผู้แต่ง

  • นาธาน กุลภัทรเวท สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • เอนก มุ่งอ้อมกลาง สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
  • สมรักษ์ ศิริเขตรกรณ์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

คำสำคัญ:

SARS-CoV-2, COVID-19, Nasopharyngeal and throat swabs

บทคัดย่อ

การสอบสวนโรคกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตราชเทวี ได้ทำการสอบสวนโรคในเดือนเมษายน 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ และหาแนวทางการควบคุมป้องกันโรค ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา   ผู้สัมผัสใกล้ชิดโดยทบทวนเวชระเบียน และกำหนดแนวทางป้องกันควบคุมโรค การทบทวนบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยซึ่งเป็นพยาบาลทำงานที่โรงพยาบาลเอกชน A ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ร่วมงานรวมถึงบุคคลใกล้ชิดเพิ่มเติม ศึกษาสภาพแวดล้อมที่ทำงานของผู้ป่วยรวมทั้งการทบทวนมาตรการการดูแลผู้ป่วย ไส้ติ่งแตก (ruptured appendix) ที่พยาบาลท่านนี้ (index case) ได้ให้การดูแลซึ่งมีผลการตรวจพบว่าติดเชื้อ SARS-CoV-2

ผลการศึกษา ทบทวนเวชระเบียนผู้รับบริการระหว่าง 1 มกราคม 2562 ถึง 14 เมษายน 2563 พบผู้ป่วยวินิจฉัย ในระบบทางเดินหายใจทั้งหมดจำนวน 1,667 ราย โดยแบ่งเป็น Upper respiratory tract infection 1,179 ราย (ร้อยละ 70.7) pharyngitis 186 ราย (ร้อยละ11.2) Influenza like illness 105 ราย (ร้อยละ 6.2) Bronchitis 86 ราย (ร้อยละ 5.2) Tonsillitis 60 ราย (ร้อยละ3.6) Influenza 45 ราย (ร้อยละ2.7) Pneumonia 6 ราย (ร้อยละ 0.4) และจากการค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่ามีผู้ป่วยที่สัมผัสกับพยาบาลรายนี้ โดยมีจำนวน 42 คน แบ่งเป็นบิดามารดาจำนวน 2 คนซึ่งอาศัยอยู่กับพยาบาลรายนี้โดยจัดว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง  และบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล A 40 คน โดยแบ่งเป็น เสี่ยงต่ำ 31 คน และเสี่ยงสูง 9 คน ยืนยันการติดเชื้อโดยการทำ Nasopharyngeal+throat swabs พบว่า ยืนยันมีผู้ที่ติดยืนยันการติด SARS-CoV-2 จำนวน 1 รายผลออก 17 เมษายน 2563 นั่นคือผู้ป่วยที่ผ่าตัด ruptured appendix และได้รับการพยาบาลจากพยาบาลรายนี้โดยมีประวัติใกล้ชิดกันมากเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 เมื่อผู้ป่วยได้ซบไหล่พยาบาลประมาณ 10 นาที ซึ่งพยาบาลสวมหน้ากากอนามัย แต่ผู้ป่วยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ในขณะที่พยาบาลพาผู้ป่วยไปทำ CT scan ปอด เนื่องจากหาสาเหตุอาการไข้ โดยภายหลังพบว่าผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบ (pneumonia)

สรุปผล พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2 ราย คือ พยาบาลและผู้ป่วยที่พยาบาลท่านนี้ได้ดูแลหลังการผ่าตัด แต่ไม่สามารถสรุปสาเหตุปัจจัยติดเชื้อได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามควรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดในบุคลากรทางการแพทย์และในสถานบริการสาธารณสุข

References

Lu R, Zhao X, Li J, et al. Genomic characterization and epidemiology of 2019 novel coronavirus: implications for virus origins and receptor binding. Lancet. 2020; 395 (10224):565-574.doi: 10.1016/S01406736(20)30251-8

World Health Organization. Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. World Health Organization. 2020 [update 2020 Feb 11; cited 2020 July 20]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technicalguidance/naming-the-coronavirus-disease(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it

Pung R, Chiew CJ, Young BE, Chin S, Chin S, Chen MI, et al. Investigation of three clusters of COVID-19 in Singapore: implications for surveillance and response measures. Lancet. 2020 Mar 28;395(10229):1039-1046. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30528-6.

Tan WJ, Zhao X, Ma XJ, et al. A novel coronavirus genome identified in a cluster of pneumonia cases — Wuhan, China 2019−2020. China CDC Weekly 2020; 2:61-2.

Zhu N, Zhang D, Wang W, et al. A novel coronavirus from patients with pneumonia in China, 2019. N Engl J Med. 2020; 382(8): 727733. doi:10.1056/NEJMoa2001017.

The Novel Coronavirus Pneumonia Emergency Response Epidemiology Team. The epidemiological characteristics of an outbreak of 2019 Novel Coronavirus Diseases (COVID-19) — China, 2020[J]. China CDC Weekly, 2020, 2(8): 113-122.

World Health Organization. COVID-19 situation reports [Internet]. World Health Organization. 2020 [cited 2020 July 20]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situationreports/

สถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19. กรมควบคุมโรค, Jonhs Hopkins University, WHO.2020 [cited 2020 July 31]. Available from: https://covid19.ddc.moph.go.th/

Wang W, Xu Y, Gao R, Lu R, Han K, Wu G, et al. Detection of SARS-CoV-2 in Different Types of Clinical Specimens. JAMA. 2020.

van Doremalen N, Bushmaker T, Morris DH, Holbrook MG, Gamble A, Williamson BN, et al. Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1. N Engl J Med. 2020;382(16):1564-7.

Ong SWX, Tan YK, Chia PY, Lee TH, Ng OT, Wong MSY, et al. Air, Surface Environmental, and Personal Protective Equipment Contamination by Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2(SARS-CoV-2) From a Symptomatic Patient.JAMA. 2020.

Ye G, Lin H, Chen S, Wang S, Zeng Z, Wang W, et al. Environmental contamination of SARS- CoV-2 in healthcare premises. J Infect. 2020.

Kampf G, Todt D, Pfaender S, Steinmann E. Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and their inactivation with biocidal agents. J Hosp Infect.2020;104(3):246-51.

The Straits Times. Coronavirus: 5 good personal hygiene practices to keep the virus at bay, health news & top stories [Internet]. April 2020 [cited 2020 July 20]. Available from: https://www.straitstimes.com/singapore/health/coronavirus-5-good-personalhygiene-practices-to-keep-the-virus-atbay

Norman P, Conner M. Health belief model. ScienceDirect [Internet]. [cited 2020 July 20]. Available from: https://sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/health-belief-model

Patel RB, Skaria SD, Mansour MM, Smaldone GC, Respiratory source control using a surgical mask: An invitro study. J Occup Environ Hyg.2016;13(7);569-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20