การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประชาชนไทย ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ดวงสิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • ประไพพิศ วิวัฒน์วานิช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • กวินนาฏ งามสมชน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • อดุลย์ ฉายพงษ์ สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

คำสำคัญ:

ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค, ภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประชาชนไทยในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรีประจำปี พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพของประชาชน ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ ประเมินภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค เป็นการวิจัยเชิงสำรอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 510 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ร้อยละ 96.1 โดยแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์/เคเบิ้ลทีวี มีกลุ่มตัวอย่างเข้าถึงร้อยละ 89.4 บุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 89.3 และสื่อสิ่งพิมพ์ ร้อยละ 89.3 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 97.9 มีความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพในระดับมาก ร้อยละ 63.5 พฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพอยู่ในระดับเหมาะสมร้อยละ 62.9 และประชาชนมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคร้อยละ 94.9

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรค พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ แหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพรายโรค ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระดับปานกลาง (.626, .574, .497, 452) ภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับต่ำ (.383)

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค พบว่า ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพรายโรคกับภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับปานกลาง (.429) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ แหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับต่ำ (.314, .332, .284, 383)

ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายในการดำเนินงานการพัฒนาระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้และนำไปสู่การมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ พร้อมทั้งเกิดภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคที่ดีต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรค ประจำปี พ.ศ. 2556. นนทบุรี : กองแผนงาน กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรค ประจำปี พ.ศ. 2554. นนทบุรี : กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. การประเมินผลการสำรวจการรับทราบข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนไทย และภาพลักษณ์ ของกรมควบคุมโรค ประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): p.607-10.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน; 2545.

McCombs, E. MaxWell and Becker, B Lee. Using Mass Communications theory. New Jersey : Prentice Hell; 1979

Katz, E., Blumler, J. G., & Gurevitch, M. Utilization of Mass Communication by the Individual. In J. G. Blumler, & E. Katz (Eds.), The Uses of Mass Communications: Current Perspectives on Gratifications Research (pp. 19-31). Beverly Hills: Sage Publications; 1974.

วิชาญ ปาวัน และคณะ. การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประชาชนไทย ประจำปี พ.ศ. 2561.กรุงเทพมหานคร : พุ่มทอง; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20