การพัฒนาระบบห้องติดตามสถานการณ์และการขับเคลื่อนเครือข่ายความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ก้าวสู่เมืองวารินถนนปลอดภัย เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วัชรชัย ครองใจ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10จังหวัดอุบลราชธานี
  • วันชัย สีหะวงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10จังหวัดอุบลราชธานี
  • วุฒิชัย สิงห์ซอม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10จังหวัดอุบลราชธานี
  • พฤศจิกาพรณ์ ปัญญาคมจันทพูน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่10จังหวัดอุบลราชธานี
  • พฤกษา ตั้งกิจวนิชกุล เทศบาลเมืองวารินชำราบ
  • ธนพร กะนะหาวงศ์ เทศบาลเมืองวารินชำราบ
  • ธวัชชัย กัญญาพันธ์ เทศบาลเมืองวารินชำราบ
  • ณัฐฐ์ฐนนท์ สีฟ้า สถานีตำรวจภูธรวารินชำราบ

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุทางถนน, ระบบกล้องวงจรปิด, เทศบาลวารินชำราบ

บทคัดย่อ

อุบัติเหตุทางถนนในเขตเมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต แต่ยังขาดข้อมูลสำคัญในการสนับสนุนการจัดการที่ดีและผลักดันความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้มากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบติดตามสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนเขตเมืองด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิดและเพื่อเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ร่วมวิจัยเป็นสมาชิกเครือข่ายลดอุบัติเหตุในเขตเมืองจำนวน 35 คน จาก 22 องค์กร ประชาชนในเขตเทศบาลวารินชำราบ 27,433 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา 6 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การเตรียมระบบคณะทำงานให้มีเป้าหมายที่ชัดเจน ทีมดำเนินงานต้องมีความรู้และประสบการณ์ 2) อบรมพัฒนาศักยภาพและไปศึกษาดูงาน 3) มีนโยบายสนับสนุนให้จัดตั้งระบบและจัดตั้งคณะทำงาน 4) พัฒนาติดตามระบบ วิเคราะห์สื่อสารข้อมูล และสนับสนุนผู้ใช้ข้อมูล 5) การวิเคราะห์ระบบและข้อเสนอแนะปรับปรุง 6) สรุปผลสำเร็จการพัฒนาระบบ  ผลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนพบว่า มีผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตลดลง โดยปี 2560 มีผู้บาดเจ็บรวมเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน อัตรา 1502.64 (413 ราย) ปี 2561 อัตรา 1195.53 (324 ราย) อัตราต่อประชากรแสนคนของผู้เสียชีวิต อัตรา 14.55 (4 ราย) ปี 2561 ไม่มีผู้เสียชีวิต ในด้านภาคีเครือข่ายพบว่า มีการประสานร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทั้งระบบโดยการจัดทำแผนออกช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุทางถนนอย่างทันท่วงทีตามมาตรฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

References

ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.tarc.or.th/

World Health Organization. Global status report on Road safety2018. [Internet]. [cited 2020 October 15]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684.

World Health Organization. Global status report on Road safety2015. [Internet]. [cited 2020 October 15]. Available From: https://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2015/en/

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2560. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12986&tid=30&gid=1-015-008

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2558-2560. เอกสารอัดสำเนา. 2562.

รุ่งเจริญ ภะวัง. งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลวารินชำราบ. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. 2559

กลุ่มสถิติการขนส่ง กรมการขนส่งทางบก. ข้อมูลสำรวจปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยต่อวันตลอดปี. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

แขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 2. ข้อมูลการสำรวจปริมาณจราจรโดยเฉลี่ยต่อวันตลอดปี (Annual Average Daily Traffic on Highways; AADT). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://surin.doh.go.th/ubonratchathani2.

Tony Lawson, Robert Rogerson, Malcolm Barnacle. A comparison between the cost effectiveness of CCTV and improved street lighting as a means of crime reduction. Computers, Environment and Urban Systems, 68, 17–25. 2018.

Wilson C, Willis C, Hendrikz JK, Le Brocque R, Bellamy N. Speed cameras for the prevention of road traffic injuries and deaths (Review). The Cochrane Collaboration and published, Issue2. 2011.

เชิดชัย ศรีโสภา. การพิจารณาการใช้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับงานรักษาความปลอดภัยองค์กรธุรกิจก่อสร้าง. การศึกษาอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. 2556.

องอาจ นัยพัฒน์. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณละเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพ: สามลดา. 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20