ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดระหว่างแพทย์ประจำกับแพทย์หมุนเวียน โรงพยาบาลวาปีปทุม ปีพุธศักราช 2561

ผู้แต่ง

  • ญาดา สมานชัย โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, Wapipatum Sepsis Checklist, แพทย์ประจำ, แพทย์หมุนเวียน, ผลลัพธ์ด้านกระบวนการ, ผลลัพธ์ด้านการรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ด้านการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายหลังการใช้ Wapipatum Sepsis Checklist ระหว่างแพทย์ประจำและแพทย์หมุนเวียน

วิธีการศึกษา_: เป็นการศึกษาโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ (Observational analytic study) โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลวาปีปทุม ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2561-31 ธันวาคม 2561 จำนวน 89 ราย

ผลการศึกษา_: ผลลัพธ์ด้านกระบวนการ พบว่าแพทย์ประจำมีการให้สารน้ำทดแทน ให้ยากระตุ้นหลอดเลือดหัวใจ ให้ยาปฏิชีวนะและประเมินปริมาณสารน้ำในร่างกายมากกว่าแพทย์หมุนเวียนแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการส่งเพาะเชื้อจากเลือดอย่างเหมาะสมพบว่า กลุ่มแพทย์ประจำส่งมากกว่าแพทย์หมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคิดเป็นร้อยละ 90.7 และ 69.6 ตามลำดับ (p=0.013) ซึ่งเมื่อประเมินความครอบคลุมทั้งกระบวนการแล้วพบว่าแพทย์ประจำสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่สร้างไว้ได้มากกว่าแพทย์หมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคิดเป็นร้อยละ 72.1 และ 39.1 ตามลำดับ (p=0.002) อัตราการทรุดลงส่งต่อผู้ป่วยที่เกิดอวัยวะล้มเหลวของแพทย์ประจำน้อยกว่าแพทย์หมุนเวียน คิดเป็นร้อยละ 27.9 และ 45.7ตามลำดับ (p=0.083)

สรุป : การรักษาภาวะติดเชื้อในช่วงแรกมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต การที่แพทย์ประจำปฏิบัติตาม Wapipatum Sepsis Checklist ได้มากกว่าแพทย์หมุนเวียนทำให้เริ่มกระบวนการดูแลได้รวดเร็วและครอบคลุม ส่งผลให้ลดการเกิดอวัยวะล้มเหลวและภาวะทุพลภาพในระยะยาวได้

References

Fleischmann C, Scherag A, Adhikari NK, et al. Assessment of Global Incidence and Mortality of Hospitaltreated Sepsis. Current Estimates and Limitations. Am J Respir Crit Care Med. 2016; 193(3): 259-72.

แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (Inspection Guideline) คณะที่ 2 : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. KPI 3 อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community acquired ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด. 2561: 448-55

กิตติศักดิ์ เชื้อสกุลวนิช. การเสียชีวิตจากภาวะ sepsis ในผู้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลสุรินทร์. J Med Assoc Thai. 2007; 90 (10):2039-46.

Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early goal-directed therapy in treatment of severe sepsis and septic shock. N Eng J Med. 2001; 345: 1368-77.

Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Med. 2017; 43: 304-77.

Mitchell M. Levy, MD, MCCM; Laura E. Evans, MD, MSc, FCCM ; Andrew Rhodes, MBBS, FRCA, FRCP, FFICM, MD. The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 Update. Crit Care Med. 2018; 46: 997-1000.

ข้อมูลจากสารสนเทศน์โรงพยาบาลวาปีปทุม

กรรณิกา อำพนธ์ พย.ม., ชัชญาภา บุญโย ประการ พย.บ., พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ พย.ม. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; 34 (3): 222-36.

Permpikul C, Tongyoo S, Ratanarat R, Wilachone W, Poompichet A. Impact of septic shock hemody namic resuscitation guidelines on rapid early volume replacement. J Med Assoc Thai. 2006; 89 Suppl 5:S55-61.

Ferrer R, Martin-Loeches I, Phillips G, Osborn TM, Townsend S, Dellinger RP, et al. Empiric antibiotic treatment reduces mortality in severe sepsis and septic shock from the first hour: results from a guideline-based performance improvement program. Crit Care Med. 2014; 42: 1749-55.

Kumar A, Roberts D, Wood KE, Light B, Parrillo JE, Sharma S, et al. Duration of hypotension before initiation of effective antimicrobial therapy is the critical determinant of survival in human septic shock. Crit Care Med. 2006; 34: 1589-96.

Shapiro N, Howell MD, Bates DW, Angus DC, Ngo L, Talmor D. The association of sepsis syndrome and organ dysfunction with mortality in emergency department patients with suspected infection. Ann Emerg Med. 2006 Nov; 48 (5): 583-90.

Jirajariyavej S, So-Ngern A, Tantawichien T, Soomhirun R. Outcomes of Clinical Practice Guideline for Sepsis Patients in Taksin Hospital. J Med Assoc Thai. 2018; 101(8):1115-20.

ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์. ผลลัพธ์ของ Surin sepsis treatment protocol ในการจัดการดูแลรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. ศรีนครินทร์วารสาร. 2555; 27 (4):332-39

Talmor D, Greenberg D, Howell MD, Lisbon A, Novack V, Shapiro N, et al. The costs and cost-effectiveness of an integrated sepsis treatment protocol. Crit Care Med. 2008; 36:1168-74.

Shorr AF, Micek ST, Jackson WL, Kollef MH. Economic implications of an evidence-base sepsis protocol: Can we improve outcomes and lower costs. Crit Care Med. 2007; 35: 1257-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15