การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการรายงานผู้ป่วยอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ดวงสิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • สำรวย ศรศรี สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

อาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, การรายงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการรายงานผู้ป่วยอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการรายงานผู้ป่วยอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (AEFI) เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยใช้วิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Crosssectional descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง 241 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.05 อายุ 23-59 ปี (S.D. 8.80) สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 60.58 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 77.18 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 39.83 อายุงาน 1-35 ปี (S.D.=7.49) เคยได้รับการฝึกอบรม ร้อยละ 73.44 ระดับปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.78 (S.D.=0.03, 95%CI=3.7-3.84) ระดับความสามารถในการรายงาน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.63 (S.D.=0.04, 95%CI=3.56-3.70) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยอายุ เพศ ระยะเวลาการทำงาน และแรงจูงใจกับความสามารถในการรายงาน พบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับนับถือ (r=0.544, p-value<0.001) รองลงมา ด้านความรับผิดชอบ (r=0.534, p-value<0.001) ด้านความสำเร็จในการทำงาน (r=0.501, p-value<0.001) ด้านลักษณะของงาน (r=0.494, p-value<0.001) และด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (r=0.464, p-value<0.001) ความสัมพันธ์กับความสามารถในการรายงาน AEFI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.001 ต่อ การพยากรณ์ พบว่าตัวแปรเพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน ความสำเร็จในการทำงาน การยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบและโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์การผันแปรของความสามารถในการรายงาน AEFI ได้ร้อยละ 42.8 (R-square=0.428) และมีเปอร์เซ็นการพยากรณ์ถูกต้องร้อยละ 65.4 (Overall Percentage = 0.654)

การวิจัยนี้สามารถนำไปใช้วางแผนการดำเนินงาน เสริมสร้างแรงจูงใจ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความรับผิดชอบ และลักษณะงานรวมถึงแรงจูงใจด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านความสำเร็จในการทำงาน เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับบุคลากรในรายงาน AEFI อย่างมีคุณภาพต่อไป

References

จักรสันต์ เลยหยุด. 2549. ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมนจังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัย มปท.

จรรรงค์ ลีสุรพงศ์. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อขององค์การบริหารส่วนตำบล .รายงานวิจัย มปท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-15