การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดที่อ่างเก็บน้ำแม่นึง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ แก้วจันต๊ะ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พยาธิใบไม้, พยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก, เมตาเซอร์คาเรีย, วงศ์ปลาตะเพียน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของปลาและการติดเชื้อของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาวงศ์ปลาตะเพียน โดยทำการสุ่มเก็บตัวอย่างปลาน้ำจืดจากตลาดในหมู่บ้าน บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่นึง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน พ.ศ. 2562 จำนวน 200 ตัว จำแนกพันธุ์ปลาได้ 12 ชนิด นำมาตรวจหาตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรีย โดยวิธีการย่อยด้วยน้ำย่อยเทียม (สารละลายเปปซิน) 0.25% ผลการศึกษาพบอัตราการติดเชื้อร้อยละ 76.50 (153/200) ส่วนมากพบในปลาหนามหลัง ร้อยละ 100.00 (91/91), ปลาซ่าหรือปลาสร้อยลูกกล้วย ร้อยละ 100.00 (39/39), ปลาซิวครีบแดง ร้อยละ 100.00 (6/6), ปลากระแห ร้อยละ 81.82 (9/11), ปลากระดี่หม้อ ร้อยละ 66.67 (2/3), ปลากระสูบขีด ร้อยละ 60.00 (3/5), ปลานิล ร้อยละ 25.00 (1/4), ปลาปากหนวด ร้อยละ 11.11(1/9) ไม่พบตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาแก้มซ้ำ ปลารากกล้วย และปลาหมอไทย ชนิดของตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียที่ตรวจพบมากที่สุด คือพยาธิใบไม้ Haplorchoides spp. รองมาพยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก Haplorchis taichui และ Centrocestus fomosanus ร้อยละ 67.00, 12.00 และ 3.00 ตามลำดับ จากผลการศึกษาแสดงว่าตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรีย พบมากที่สุดในปลาวงศ์ปลาตะเพียน ความหนาแน่นของเมตาเซอร์คาเรีย เฉลี่ย 12.46 เมตาเซอร์คาเรียต่อตัว ความหนาแน่นของเมตาเซอร์คาเรียแตกต่างกันในปลาแต่ละชนิด พบมากสุดในปลากระสูบขีด เฉลี่ย 61.00 เมตาเซอร์คาเรียต่อตัว

References

World Health Organization. Control of foodborne trematode infections: report of a WHO study group. Geneva: WHO; 1995

Sripa B, Kaewkes S, Intapan PM, Maleewong W, Brindley PJ. Food-borne trematodiases in Southeast Asia epidemiology, pathology, clinical manifestation and control. Advances in Parasitology 2010; 72: 305-50.

Radomyos B, Wongsaroj T, Wilairatana P, Radomyos P, Praevanich R, Meesomboon V, Jongsuksuntikul P. Opisthorchiasis and intestinal fluke infections in northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1998; 29(1):123-7.

Wijit A, Morakote N, Klinchid J. High Prevalence of Haplorchiasis in Nan and Lampang Provinces, Thailand, Proven by Adult Worm Recovery from Suspected Opisthorchiasis Case. Korean J Parasitol. 2013; 51(6):767-9.

พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร และอมรรัตน์ ดอกไม้ขาว. ความชุกตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาวงศ์ปลาตะเพียน ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. สัตวแพทย์มหานครสาร. 2557; 9(2):113-20.

Namue C, Rojanapaibul A, Wongsawad C. Occurrence of two heterophyid metacercariae Haplorchis and Haplorchoides in cyprinoid fish of some districts in Chiang Mai and Lamphun province. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1998; 29(2):401-5.

Sukontason K, Piangjai S, Muangyimpong Y, Sukontason K, Methanitikorn R, Chaithong U. Prevalence of trematode metacercariae in cyprinoid fish of Ban Pao District, Chiang Mai Province, northern Thai and. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1999; 30(2):365-70.

Nichapu A. Metacercaria from freshwater fishes of Mae Sa stream, Chiang Mai, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2000; 31 Suppl 1:54-7.

Wongsawad C, Rojanapaibul A, Mhad-arehin N, Pachanawan A, Marayong T, Suwattanacoupt S, et al. Metacercaria from freshwater fishes of Mae Sa stream, Chiang Mai, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2000; 31 Suppl 1:54-7.

Kumchoo K, Wongsawad C, Chai JY, Vanittanakom P, Rojanapaibul A. High Prevalence of Haplorchis taichui Metacercariae in cyprinoid fish from Chaiangmai province, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2005; 36(2):451-5.

Nithikathkul C, Wongsawad C. The occurrence of heterophyid metacercariae in freshwater fish from reservoirs. Asian Biomedicine. 2008; 2: 229-32.

กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. รายงานแผนปฏิบัติการป้องกันและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อ่างเก็บน้ำแม่นึง จังหวัดลำปาง. กรุงเทพมหานคร: บริษัทครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด; 2560.

ภาสกร แสนจันแดง. สารานุกรมปลาน้ำจืดของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2557.

อภินันท์ สุวรรณรักษ์. ปลาลุ่มน้ำปิง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตรติ้ง แอนต์ เซอร์วิส; 2560.

Pearson JC, Ow-Yang CK. New species of Haplorchis from Southeast Asia, together with keys to the Haplorchis-Group of Heterophyid trematodes of the region. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1982; 13: 35-60.

Scholz T, Ditrich O, Giboda M. Differential diagnosis of opisthorchid and heterophyid metacercariae (Trematoda) infection of flesh cyprinoid fish from Nam Ngum Dam Lake in Laos. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1991; 22: 171-3.

นวลพรรณ วีระเวชสุกิจ. การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียของปลาน้ำจืด บริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.

Srisawangwong T, Sithithaworn P, Tesana S. Metacercariae isolated from cyprinoid fishes in Khon Kaen District by digestion technic. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1997; Suppl 1:224-6.

อรนันท์ พรหมมาโน และนิตติญา ชาวชายโขง. การสำรวจตัวอ่อนระยะเมตาเซอคาเรียของพยาธิใบไม้ในปลาวงศ์ตะเพียนจากแม่น้ำเลย จังหวัดเลย. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562 [Internet] [20 July 2019]. Availabel from: https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/NA19-083.pdf.

Chai JY, Murrell KD, Lymbery AJ. Fish-borne parasitic zoonoses: status and issues. International journal for parasitology. 2005; 35: 1233-54.

Boonchot K, Wongsawad C. A survey of helminths in cyprinoid fish from the Mae Ngad Somboonchon Reservoir, Chiang Mai Province, Thailand. The Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health. 2005; 36: 103-7.

Nithikathkul C, Wongsawad C. Prevalence of Haplorchis taichui and Haplorchoides sp. metacercariae in freshwater fish from water reservoirs, Chiang Mai, Thailand. The Korean Journal of Parasitology. 2008; 46: 109-12.

วัชริยา ภรีวิโรจน์กุล. การสํารวจชนิดของปลาที่ติดพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียจากบางท้องที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 2554; 5(2):75-86.

Poolphol P. A survey of the occurrence of Opisthorchis viverrini metacercariae in freshwater fish and raw products in Chiang Mai Province [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 1995.

Sithithaworn P, Pipitgool V, Srisawangwong T. Seasonal variation of Opisthorchis viverrini infection in cyprinoid fish in north-east Thailand: implications for parasite control and food safety, D B Elkins, M R Haswell-Elkins. Bull World Health Organ. 1997; 75(2):125-31.

Saenphet S, Wongsawad C, Saenphet K. A survey of helminths in freshwater animals from some areas in Chiang Mai. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2001; 32 Suppl 2:210-3.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่. รายงานโครงการติดตามควบคุมและเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมผลกระทบต่อสุขภาพด้านโรคหนอนพยาธิ ภายใต้แผนปฏิบัติการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่นึง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2562. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่; 2562.

Waikagul J, Jongsuksantigul P, Rattanawitoon U, Radomyos P, Kojima S, Takeuchi T. Parasitological Monitoring of Helminth Control Program in Northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2008; 39(6):1008-14.

Shameem U, Madhavi R. The morphology, life-history and systematic position of Haplorchoides mehrai Pande and Shukla, 1976 (Trematoda: Heterophyidae). Systematic Parasitology.1988; 11: 73-83.

Wiwanitkit V. The correlation between rainfall and the prevalence of trematode metacercaria in freshwater fish in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2005; 36 Suppl 4:120-2.

Noikong W, Wongsawad C, Phalee A. Seasonal variation of metacercariae in cyprinoid fish from Kwae Noi Bamroongdan Dam, Phitsanulok Province, northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2011; 42: 58-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-07