ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเชื้อดื้อยาหลายขนานของชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จิรพันธุ์ อินยาพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • อรทัย ศรีทองธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • เสถียร เชื้อลี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • อ้อมทิพย์ พลบุบผา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทนันพัทธ์ นาคนิกร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • นรภัทร เหลืองรัตนมาศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความสามารถ, วัณโรคดื้อยา, การดูแลโดยชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในระดับชุมชน ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี และปัจจัยที่ร่วมกันทำนายความสามารถในการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในระดับชุมชน พื้นที่ศึกษาเป็นตำบลที่มีผู้ป่วย MDR-TB จำนวน 36 ตำบล ใน 12 อำเภอ กลุ่มประชากรที่ศึกษา จำนวน 100 รายแบ่งเป็น เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน 53 ราย และผู้นำชุมชน จำนวน 47 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis: MRA)

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.0 อายุเฉลี่ย 50.53 ปี สถานภาพคู่ ร้อยละ 79 มีระดับการศึกษาสูงสุด คือระดับประถมศึกษา ร้อยละ 36.0 มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ร้อยละ 74 รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 32 มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ในฐานะเป็น อสม./จนท.สาธารณสุข ร้อยละ 47.0 ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรค/วัณโรคเชื้อดื้อยา ร้อยละ 71 รับการอบรมโดยเจ้าหน้าที่รพ.สต. ร้อยละ 64 เคยไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ร้อยละ 94 และลงไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล/ เจ้าหน้าที่ รพ. สต. ร้อยละ 68 ระดับความรู้โรควัณโรคและวัณโรคดื้อยา การดูแลรักษาและการป้องกันการแพร่เชื้อ อยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.94 (SD.=1.686)  ระดับความสามารถในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.80 (SD.= 6.77) และระดับการตีตราผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.50  (SD.= 1.439)  ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่า ตัวแปรด้านบทบาทในการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในชุมชน (X3) การตีตราผู้ป่วย MDR-TB ในชุมชน (X2) ความรู้โรค MDR-TB (X1) และการได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วย MDR-TB (X4) สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในระดับชุมชน ได้ร้อยละ 42.8 เมื่อพิจารณารายตัวแปร พบว่า ตัวแปรด้านบทบาทในการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในชุมชน (X3) คือบทบาทการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย และบทบาทของผู้นำชุมชน เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในระดับชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย 2561 (National Tuberculosis Control Program Guidline, Thailand, 2018 : NTP). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกดีไซด์; 2561.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

นิโลบล นาคบำรุง, ยศวดี เพ็ชรคำ, ศศิธร แดงเจย์, สุกัญญา บุญช่วย, ตั้ม บุญรอด, และวิชชาดา สิมลา. ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(4):646-659.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี. สรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคปีงบประมาณ 2558. เอกสารประกอบการประชุม ปีงบประมาณ 2558.

อรทัย ศรีทองธรรม และคณะ, รายงานวิจัย ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดยาและการรักษาล้มเหลวในผู้ป่วย MDR-TB ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี. สนับสนุนงบประมาณจากกรมควบคุมโรค, มปท.2558.

ชาติชาย กิติยานันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานยาต้านวัณโรคไม่ถูกต้องในผู้ป่วยดื้อยา. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(3):389-400.

ณฐกร จันทนะ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, พรรณวดี พุธวัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Nutrition). Rama Nurs J 2562;25(3):296-309.

Jia Yin, Jinqiu Yuan, Yanhong Hu, Xiaolin Wei. Association between Directly Observed Therapy and Treatment Outcomes in Multidrug-Resistant Tuberculosis: A Systematic Review and Meta-Analysis. PLOS ONE | DOI:10.1371/journal.pone.0150511 March 1, 2016 (P.1-14). 2016.

Williams AO, Makinde OA, Ojo M. Community-based management versus traditional hospitalization in treatment of drug-resistant tuberculosis: a systematic review and meta-analysis. Global Health Research and Policy, volume 1, Article No.10 [Internet]. 2016. [cited 11 August 2019]. Available from: https://ghrp.biomedcentral.com/articles/10.1186/s41256-016-0010-y

Oyieng'o D, Park P, Gardner A, Kisang G, Diero L, Sitienei J, Carter J. Community-based treatment of multidrug-resistant tuberculosis: early experience and results from Western Kenya. Public Health Action, Volume 2, Number 2, 21 June 2012, pp. 38-42(5). International Union Against Tuberculosis and Lung Disease. [Internet]. 2012. [cited 11 August 2019]. Available from: https://doi.org/10.5588/pha.12.0002

Palacios E, Guerra D, Llaro K, Chalco K, Sapag R, Furin J. The role of the nurse in the community-based treatment of multidrug-resistant tuberculosis (MDR-TB). Int J Tuberc Lung Dis. 2003 Apr;7(4):343-6. [Internet]. 2003. [cited 11 August 2019]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12729339

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สรุปรายงานผู้ป่วยวัณโรค ปีงบประมาณ 2561-2562.

นิรมล พิมน้ำเย็น, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์, พัชรินทร์ สิรสุนทร, มนตรี กรรพุมมาลย์ และศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ความรู้และเจตคติต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย. Naresuan University Journal 2011; 19(2):50-57.

สมศักดิ์ โอภาสตระกูล และดวงพร เตมีศักดิ์. ประเมินการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2550; 3(3):330-340.

วรรัตน อิ่มสงวน, สุรีรัตน์ ท้าวถึง, ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ และจินตนา งามวิทยาพงศ์. ความรู้ การตีตราและประสบการณ์ของแพทย์และพยาบาล เกี่ยวกับวัณโรคและการสำรวจวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัส. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(4):516-528.

จิราภรณ์ ชูวงศ์. กลยุทธ์การลดการตีตราของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ในชุมชนจังหวัดตรัง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2562; 2(1): 256-266.

Deshmukh RD, Dhande DJ, Sachdeva KS, Sreenivas A, Kumar AM, Satyanarayana S, Parmar M, Moonan PK, Lo TQ. Patient and Provider Reported Reasons for Lost to Follow Up in MDRTB Treatment: A Qualitative Study from a Drug Resistant TB Centre in India. PLoS One. 2015 Aug 24;10(8). [Internet]. [cited June 2018]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26301748).

Shona Horter , Beverley Stringer , Nell Gray , Nargiza Parpieva , Khasan Safaev , Zinaida Tigay , Jatinder Singh , and Jay Achar. Person-centred care in practice: perspectives from a short course regimen for multi-drug resistant tuberculosis in Karakalpakstan, Uzbekistan. BMC Infect Dis. 2020 Sep 16;20(1):675. [Internet]. 2020. [cited 13 July 2021]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32938422/

M Loveday , K Wallengren , J Brust , J Roberts , A Voce , B Margot , J Ngozo , I Master , G Cassell , and N Padayatchi. Community-based care vs. centralised hospitalisation for MDR-TB patients, KwaZulu-Natal, South Africa. Int J Tuberc Lung Dis. 2015 Feb;19(2):163-71. [Internet]. 2015. [cited 13 July 2021]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25574914/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29