การพัฒนาแนวทางการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ สมดี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

คำสำคัญ:

โควิด19, การดูแลผู้ป่วย, แนวทางการการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการวินิจฉัย และการดูแลผู้ป่วยโรค COVID-19 ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เดชอุดม มีการนำทฤษฎีระบบสามด้านคือปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และผลลัพธ์ มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขทั้งในโรงพยาบาลและจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทาง ผลการศึกษาพบว่า จากกระบวนการพัฒนาได้แนวทางการดูแลและวินิจฉัยการติดเชื้อกรณีผู้ป่วยที่เข้าได้กับปอดอักเสบ/สงสัยปอดอักเสบจากเชื้อ COVID-19 และปรับปรุงคำนิยามตามกรมควบคุมโรคกำหนดบทบาทหน้าที่ตั้งแต่ระบบการคัดกรอง การประสานงาน การรายงานระบาดวิทยาเพื่อสอบสวนโรค การส่งต่อจุดต่างๆ การจัดเตรียมหอผู้ป่วยใน การสอนสาธิตสวมใส่ชุด PPE และระบบการส่งต่อในระดับอำเภอ โซนและจังหวัดด้านสถานที่จัดทำห้องตรวจแยกโรคแผนกผู้ป่วยนอกปรับปรุงหอผู้ป่วยในเพื่อเป็นห้องที่รับผู้ป่วย COVID-19 จัดทำประตูทางเดินเข้าตึกของเจ้าหน้าที่แยกกับทางเดินของผู้ป่วย เพิ่มประตูกั้นระหว่างทางเดินในตึกแบ่งโซนของบุคลากรกับผู้ป่วย ติดตั้งพัดลมดูดอากาศบริเวณทางเดินเพิ่มด้านวัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งานด้านผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 24 มิถุนายน 2563 จำนวน 51 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 จำนวน 2 ราย และมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (HRC) จำนวน 6 ราย ไม่พบการติดเชื้อและไม่พบการแพร่กระจายเชื้อในกลุ่มบุคลากร ผู้ป่วยและชุมชน ดังนั้นสิ่งสำคัญในการคัดกรอง เฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้นั้นบุคลากรทุกระดับต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยามผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคเขตพื้นที่เสี่ยง แนวทางการดูแลรักษาวินิจฉัยโรค และมีระบบการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาระบบคือการที่ผู้บริหารเห็นความสำคัญ อนุมัติงบประมาณในการปรับปรุงสถานที่ต่างๆ และการประกาศนโยบายที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน

References

WHO. [Internet]. 2020. [cited 24 June 2020]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0

กรมควบคุมโรค. นิยามผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient Under Investigation : PUI) และแนวทางเฝ้าระวัง ส่งตัวอย่าง และรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/viral/

Ivankova N. V. Mixed Methods Application in Action Research from Method to Community Action. SAGE Publication. 2015. P.38

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง 1 พฤษภาคม 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=69

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกรมการแพทย์ เรื่อง แนวทางปฏิบัติการทำหัตถการผ่าตัดสถานการณ์ COVID-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=33

กรมการแพทย์ ร่วมกับคณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยและสมาคมวิชาชีพต่างๆ. คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง (Personal protective equipment) กรณีโควิด-19 ฉบับ วันที่ 20 เมษายน 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=63

กรมอนามัย. คู่มือมาตรการและแนวทางในการดูแลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์การะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.anamai.moph.go.th/main.php?filename=covid19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29