ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ สุขยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • จิรพันธุ์ อินยาพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ปัจจัย, การเสียชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 เป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่คนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ขึ้นทะเบียนใน National Tuberculosis Information Program (NTIP) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2562 ซึ่งไม่อยู่ในสถานะกำลังรักษา เปลี่ยนการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียนใหม่เป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา หรือมีสาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและการฆ่าตัวตาย จำนวน 11,466 คน โดยมีผลการรักษารอดชีวิตจำนวน 10,421 คน (ร้อยละ 90.89) และเสียชีวิตจำนวน 1,045 คน (ร้อยละ 9.11) ส่วนใหญ่เป็นผู้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 เดือนแรกของการรักษาร้อยละ 71.00 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่โดย Multiple logistic regression พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ได้แก่ อายุ 60 ปีขึ้นไป (ORadj 3.52; 95%CI 3.02-4.11) โรคมะเร็ง (ORadj 4.52; 95%CI 2.40-8.54) โรคไตเรื้อรัง (ORadj 3.34; 95%CI 2.52-4.42) โรคตับ (ORadj 3.57; 95%CI 1.39-9.15) โรคความดันโลหิตสูง (ORadj 1.28; 95%CI 1.01-1.61) การติดเชื้อเอชไอวี (ORadj 5.69; 95%CI 4.44-7.28) และไม่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวี (ORadj 2.10; 95%CI 1.73-2.56) ดังนั้น การดำเนินงานตามมาตรการเชิงรุกในการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถค้นหาและวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็วเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคและป้องกันการเสียชีวิต

References

Stop TB Partnership, UNOPS. The Paradigm shift 2016-2020 Global Plan to End TB. Geneva, Switzerland: UNOPS; 2015

World Health organization. Global tuberculosis report 2019. [Internet] 2019 [cited 2020 May 12]. Available from: https://www.who.int/teams/global-tuberculosis-programme/tb-reports/global-report-2019

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. โปรแกรม NTIP (National Tuberculosis Information Program) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://tbcmthailand.ddc.moph.go.th

กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2563. [อินเตอร์เน็ต] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/KPITemplate_MOPH

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

Hosmer DW, Lemeshow S. Applied Logistic Regression (2nd Edition). New York, NY: John Wiley & Sons; 2000.

เสถียร เชื้อลี. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในเขตสุขภาพที่ 10. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2561; 16(1): 16-24.

เจริญศรี แซ่ตั้ง. ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005 - 2014. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4): 436-47.

วิลาวรรณ สมทรง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป. วารสารควบคุมโรค 2562; 45(2): 191-9.

จันทร์ชนก กิตติจันโรภาส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(3): 74-82.

Jinsoo Min, Ju Sang Kim, Hyung Woo Kim, Ah Young Shin, Hyeon-Kyoung Koo, Sung-Soon Lee, et al. Clinical profile of early and tuberculosis relate mortality in South Korea between 2015-2017: a cross-sectional study. BMC Infectious Diseases 2019; 19:735. https://doi.org/10.1186/s12879-019-4365-9.

อัจฉา นิธิอภิญญาสกุล, เกษร แถวโนงิ้ว, ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ, เอนก มุ่งอ้อมกลาง. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดผู้ใหญ่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย: ศึกษาแบบ Matched Case-Control. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561; 27(3): 487-99.

รุ้งประกาย อินจอง. ผลลัพธ์ของการรักษาวัณโรคและปัจจัยเกี่ยวเนื่องกับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารควบคุมโรค 2563; 46(3): 370-80.

S. Low, L. W. Ang, J. Cutter, L. James, C. B. E. Chee, Y. T. Wang, et al. Mortality among tuberculosis patients on treatment in Singapore. Int J Tuberc Lung Dis 2009; 13(3): 328-34.

J Christo Heunis, N Gladys Kigozi, Perpetual Chikobvu, Sonja Botha, HCJ Dingie van Rensbur. Risk factors for mortality in TB patients: a 10-year electronic record review in a South African province. BMC Public Health 2017; 17:38. doi: 10.1186/s12889-016-3972-2.

Yong-Soo Kwon, Yee Hyung Kim, Jae-Uk Song, Kyeongman Jeon, Junwhi Song, Yon Ju Ryu, et al. Risk Factors for Death during Pulmonary Tuberculosis Treatment in Korea: A Multicenter Retrospective Cohort Study. Korean Med Sci 2014; 29: 1226-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29