ความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ของนักศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรค, โรคโควิด 19บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 223 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดสัดส่วน (Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.67 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด -19 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean 29.87, S.D. 2.63) เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า 1) ประเด็นความรู้ทั่วไปของโรคโควิด 19 มีความรู้อยู่ในระดับมาก (Mean 4.94, S.D. 0.91) 2) ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีความรู้อยู่ในระดับมาก (Mean 6.43, S.D. 0.64) 3) ประเด็นสาเหตุของการเกิดโรคโควิด-19 มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง(Mean 3.84, S.D. 0.77) 4) ประเด็นการติดต่อของโรคโควิด 19 มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (Mean 4.77, S.D. 0.72) 5) ประเด็นอาการของโรคโควิด-19 มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (Mean 6.86, S.D. 1.29) และ 6) แนวทางการรักษาของโรคโควิด-19 มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (Mean 3, S.D. 0.92) ส่วนด้านพฤติกรรมพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (Mean 12.39, S.D. 1.26) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีเป็นส่วนใหญ่ มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.92 ที่ปฏิบัติน้อยที่สุด คือการออกกำลังกายเป็นประจำครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที มีพฤติกรรมอยู่ในระปานกลาง
ผลการศึกษานี้สถาบันการศึกษาสามารถนำผลการศึกษาไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย เพื่อสอดแทรกเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 ในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร และเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่ต้องออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโรงพยาบาลและชุมชนต่อไป
References
กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุบลราชธานี. ประกาศของจังหวัดและศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) วันที่ 16 ตุลาคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: http://ubonratchathani.go.th/home/category/covid-19
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินกระทรวงสาธารณสุข. คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ 15/2564 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php
ประภาพร ศรีตระกูล. การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต; 2550.
จันทิมา ห้าวหาญ, พรรณวดี ขำจริง. ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563.
Bloom BS., Krathwohl DR., Masia BB. Taxonomy of Educational Objectives The Classification of Education Goals Handbook: Affeective Domain. Longman Green and Co, London; 1964.
World Health Organization. WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2020 [cited 2020 Jun 10]. Available from: https://covid19.who.int/table
ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(5):597-604.
บงกช โมระสกุล, พรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15(37):179-195.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว