ความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและการตีตราตนเองของผู้ป่วยวัณโรคเชื้อดื้อยาในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ทศพงษ์ บุระมาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • อ้อมทิพย์ พลบุบผา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทนันพัทธ์ นาคนิกร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • นรภัทร เหลืองรัตนมาศ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • พลอยไพลิน เทพาฑีปกรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • อภิญญา จำปา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การดูแลตนเอง, การตีตราตนเอง, วัณโรคดื้อยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเอง และการตีตราตนเอง และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเอง และการตีตราตนเองของผู้ป่วย MDR-TB ในระดับชุมชน ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี พื้นที่ศึกษาเป็นตำบลที่มีผู้ป่วย MDR-TB จำนวน 36 ตำบล ใน 12 อำเภอ กลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ป่วย MDR-TB ในชุมชน จำนวน 51 ราย เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป การสนับสนุนทางสังคม ความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง และการตีตรา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Independent T-test

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 74.5 อายุเฉลี่ย 50.55 ปี ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 41.2 รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว ร้อยละ 78.4 เป็นผู้ป่วยรายใหม่ คิดเป็นร้อยละ 52.9 รับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง ร้อยละ 82.4 มีพี่เลี้ยงเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล/เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ร้อยละ 52.9 กินยาสม่ำเสมอทุกวัน ร้อยละ 88.2  มีเจ้าหน้าที่/คนคอยดูแลกำกับการกินยาทุกครั้ง ร้อยละ 49.0 ระดับความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.65 (SD.= 2.568) การได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.61 (SD.= 3.232) และระดับการตีตราตนเองของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 (SD.= 1.339) พบว่าปัจจัยด้านเพศมีความสัมพันธ์กับการตีตราตนเอง และความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วย MDR-TB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านกลุ่มอายุ การเป็นผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยกลับซ้ำ/ผลการรักษาล้มเหลว ระดับการสนับสนุนทางสังคม และระดับความรู้โรค TB/MDR/TB ไม่มีความสัมพันธ์กับการตีตราตนเอง และความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วย MDR-TB

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกดีไซด์; 2561.

นิโลบล นาคบำรุง, ยศวดี เพ็ชรคำ, ศศิธร แดงเจย์, สุกัญญา บุญช่วย, ตั้ม บุญรอด, วิชชาดา สิมลา. ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(4):646-659.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี. 2562. สรุปรายงานผลการรักษาวัณโรครอบ 12 เดือน จากโปรแกรม NTIP (เข้าถึงโปรแกรมเดือนมิถุนายน 2563).

อรทัย ศรีทองธรรม, อมรรัตน์ จงตระการสมบัติ, ชุติมา ผลานันท์, อุบลศรี ทาบุดดา, จิรพันธุ์ อินยาพงษ์, เสถียร เชื้อลี. รายงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดยาและการรักษาล้มเหลวในผู้ป่วย MDR-TB ในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี; 2558.

วรรัตน อิ่มสงวน, สุรีรัตน์ ท้าวถึง, ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ, จินตนา งามวิทยาพงศ์. ความรู้ การตีตราและประสบการณ์ของแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับวัณโรคและการสำรวจวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัส. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;11(4):516-528.

A.N. Gobaud, C.A. Haley, J.W. Wilson, R. Bhavaraju, A. Lardizabal, B.J. Seaworth, N.D. Goswami. Multidrug-resistant tuberculosis care in the United States. Int J Tuberc Lung Dis [Internet]. 2020 [cited 2021 July 13];24(4):409-413. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32317065/

Shona Horter, Beverley Stringer, Nell Gray, Nargiza Parpieva, Khasan Safaev, Zinaida Tigay, Jatinder Singh, Jay Achar. Person-centred care in practice: perspectives from a short course regimen for multi-drug resistant tuberculosis in Karakalpakstan, Uzbekistan. BMC Infect Dis [Internet]. 2020 [cited 2021 July 13];20(1):675. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32938422/

Shona Horter, Jay Achar, Nell Gray, Nargiza Parpieva, Zinaida Tigay, Jatinder Singh, Beverley Stringer. Patient and health-care worker perspectives on the short-course regimen for treatment of drug-resistant tuberculosis in Karakalpakstan, Uzbekistan. PLoS One [Internet]. 2020 [cited 2021 July 13];15(11):e0242359. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33237960/

Joseph Mukasa, Edward Kayongo, Ismael Kawooya, Deus Lukoye, Alfred Etwom, Frank Mugabe, Hannock Tweya, Rose Izizinga, Rhona Mijumbi-Deve. Adherence to the MDR-TB intensive phase treatment protocol amongst individuals followed up at central and peripheral health care facilities in Uganda - a descriptive study. Afr Health Sci [Internet]. 2020 [cited 2021 July 13];20(2):625-632. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33163023/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สรุปรายงานผู้ป่วยวัณโรค ปีงบประมาณ 2561-2562.

Jia Yin, Xiaomeng Wang, Lin Zhou, Xiaolin Wei. The relationship between social support, treatment interruption and treatment outcome in patients with multidrug-resistant tuberculosis in China: a mixed-methods study. Tropical Medicine and International Health 2018;23(6):668–677.

ชาติชาย กิติยานันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับประทานยาต้านวัณโรคไม่ถูกต้องในผู้ป่วยดื้อยา. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(3):389-400.

ณฐกร จันทนะ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, พรรณวดี พุธวัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562;25(3):296-309.

นิรมล พิมน้ำเย็น, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์, พัชรินทร์ สิรสุนทร, มนตรี กรรพุมมาลย์, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. ความรู้และเจตคติต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย. Naresuan University Journal 2011;19(2):50-57.

Grandjean L, Gilman RH, Martin L, Soto E, Castro B, Lopez S, Coronel J, Castillo E, Alarcon V, Lopez V, San Miguel A, Quispe N, Asencios L, Dye C, Moore DA. Transmission of Multidrug-Resistant and Drug-Susceptible Tuberculosis within Households: A Prospective Cohort Study. PLoS Med [Internet]. 2015 [cited 2018 June 15]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26103620

Jia Yin, Jinqiu Yuan, Yanhong Hu, Xiaolin Wei. Association between Directly Observed Therapy and Treatment Outcomes in Multidrug-Resistant Tuberculosis: A Systematic Review and Meta-Analysis. PLOS ONE [Internet]. 2016 [cited 2018 June 15];March1:1-14. DOI:10.1371/journal.pone.0150511

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23