การพัฒนารูปแบบการเร่งรัดกำจัดโรคมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงสูง กรณีศึกษา : อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • สุธีรา พูลถิน กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • รุ่งนิรันดร์ สุขอร่าม กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • สุทธิดา นิ่มศรีกุล กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • ปิติ มงคลางกูร กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, กำจัดโรคไข้มาลาเรีย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเร่งรัดกำจัดโรคมาลาเรีย ในการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 24 หมู่บ้าน 6 ตำบล ในทุกกลุ่มประชากร เก็บข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา กำหนดรูปแบบการศึกษาประกอบด้วย 1) ทีมปฏิบัติการเชิงรุก Multipurpose ค้นหาเชิงรุก วินิจฉัยเร็ว จ่ายยารักษาหายขาด ติดตามผู้ป่วยกินยาให้ครบ ป้องกันและควบคุมยุงพาหะครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร 2) ทีมสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม 3) ทีมค้นหาผู้ป่วยเจาะโลหิตและตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิค Pool Real-time PCR และ 4) ทีมประเมินผลทางด้านกีฏวิทยา สำรวจและประเมินความต้านทานของยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย

ผลการศึกษา 1) ประชากรได้รับการเจาะโลหิตค้นหาผู้ป่วยทางตรง จ่ายยารักษาหายขาด และติดตามผู้ป่วยกินยารักษาครบครอบคลุมสูง 83.89% - 94.52% การพ่นกระท่อมด้วยสารเคมี แจกมุ้งชุบสารเคมีออกฤทธิ์คงทนยาวนาน (LLIN) และแจกยาทากันยุงครอบคลุมบ้าน 100% ของหลังคาเรือน 2) ประชาชนมีพฤติกรรมการนอนในมุ้ง 91.75% โดยใช้มุ้งเป็นประจำ 85.50% 3) การค้นหาผู้ป่วยด้วยวิธี Pool Real-time PCR ครอบคลุมประชากร 78.03% สามารถตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรียได้มากกว่าตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ 4) การศึกษากีฏวิทยา พบยุงพาหะนำไข้มาลาเรีย คือ An. Minimus complex  An. Maculatus group และ An. varuna ซึ่งยังมีความไวต่อสารเคมีไม่ดื้อต่อสาร deltamethrin และ permethrin พบอัตราการตาย 100%  สำหรับผลทดสอบประสิทธิภาพของมุ้งชุบสารเคมีที่มีฤทธิ์คงทนยาวนานอายุ 1 ปี ที่ประชาชนใช้กางนอนเป็นประจำ ด้วยวิธี Bio-assay test พบว่ายังมีประสิทธิผลในการป้องกันยุง พบอัตราการตาย 65.91 - 97.96 โดยในปี 2557 - 2559 ผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียในอำเภอท่าสองยางลดลงและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยต่อพันประชากร 69.68, 29.02 และ 12.11 ตามลำดับ คิดเป็น 1.65, 2.4 และ 2.39 เท่า ตามลำดับ

References

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคไข้มาลาเรียสำหรับบุคลากรทางแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลและอำเภอ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2555. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2553.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2555. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2554.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2555. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2555.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ระบบมาลาเรียออนไลน์ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/report/report_mod2.php

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2556. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2556.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2557. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2557.

Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row; 1973.

World Health Organization. Guidelines for laboratory and field-testing of long-lasting insecticidal nets. WHO: Geneva, Switzerland; 2013.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2558. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2558.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2559.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงานควบคุมโรคมาลาเรียสำหรับบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ. 2552. นนทบุรี: กลุ่มโรคมาลาเรีย; 2552.

สุเทพ ฟองศรี. การเปรียบเทียบผลการตรวจวินิจฉัยมาลาเรียโดยวิธี Nested PCR และกล้องจุลทรรศน์ฟิล์มโลหิตหนา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2550. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2554; 7(2):128-34.

สำนักจัดการความรู้ และกองแผนงาน กรมควบคุมโรค. อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) ปี 2559. คู่มือการประเมินตนเองระดับอำเภอ. นนทบุรี: สำนักจัดการความรู้ และกองแผนงาน กรมควบคุมโรค; 2558.

นุกูล กองทรัพย์. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการจัดการโรคมาลาเรีย บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2564; 19(1):49-58.

World Health Organization. Guidelines for laboratory and field testing of long-lasting insecticidal mosquito nets. Geneva: World Health Organization; 2005.

World Health Organization. Guidelines for monitoring the durability of long-lasting insecticidal mosquito nets under operational conditions [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2011 [cited 2023 May 15]. 44 p. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/44610/9789241501705_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29