ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • จันทิมา มาตชายเคน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแค อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
  • กรกวรรษ ดารุนิกร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

พยาธิใบไม้ตับ, พฤติกรรมป้องกันควบคุมโรค, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายในบุคคล และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ศึกษาในประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 -70 ปี ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรประมาณค่าเฉลี่ยได้ขนาดตัวอย่าง 307 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ ปัจจัยภายในบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันพยาธิใบไม้ตับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Multiple Logistic Regression

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 45 ปีขึ้นไป เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพทำนา มีสถานภาพสมรส มีความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับใน ระดับสูง ร้อยละ 53.40 มีทัศนคติต่อการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.70 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ในระดับสูง ร้อยละ 64.20 และมี พฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ในระดับกลาง ร้อยละ 87.30 โดยเมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่นพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ได้แก่ ปัจจัยภายในด้านความรู้ (P-Value=0.01) และปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการให้การประเมินผล (P-Value=0.02) ดังนั้นจึงควรเสริมสร้างความรู้ การดำเนินการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ และแจ้งผลให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

References

กนกวรรณ นุชประมูล, ญาณิตา รัชนิวัติ, ทวี นาคหล่อ, บุษรัตน์ สุลีสถิร, ปณิธาน ประดับพงษา, ปานจิต ธรรมศรี และคณะ. การศึกษาประสิทธิภาพของการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ บ้านทุ่งเหียง ต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา. วารสารเวชสารแพทย์ทหารบก 2552; 5(62):27-42.

พัชราภา วาจนสุนทร. แผนงานโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2566. การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคหนอนพยาธิและการใช้ระบบฐานข้อมูลการเฝ้าระวังหนอนพยาธิในเด็กและเยาวชน; 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566; ศูนย์ประชุมสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; 2566.

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายจากมะเร็งตับ [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=786

กุลธิดา โพลรัตน์, ชนิกา วรสิษฐ์, ไพบูล สิทธิถาวร. การตรวจคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับในตำบลต้นแบบ โดยการตรวจปัสสาวะ. จุลสารศูนย์ประสานงานโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อนํ้าดี 2560; 2(6):14.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ศศิธร เจริญประเสริฐ, ณัฐพันธ์ จันสมุทร, พุทธิไกร ประมวล. ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อซ้ำโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2565; 1(1):16-28.

รัชนีกร กุญแจทอง, สุมาลี จันทลักษณ์, ศุจินันท์ ตรีเดช, สมจิตร พันธุโพธิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. วารสารควบคุมโรค 2564; 47(2):1191-202.

ศักดิ์ชัย กามโร, รุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีของญาติผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2559; 22(2):5-18.

เกษร แถวโนนงิ้ว, อังษณา ยศปัญญา, สุพรรณ สายหลักคำ, บุญจันทร์ จันทร์มหา. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับจังหวัดเลยปี 2556. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2556; 22(1):89-97.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 5th edition. New Jersey: Prentice Hall; 1986.

Kaewpitoon N, Kaewpitoon S, Pengsaa P, Pilasri C. Knowledge, attitude and practice related to liver fluke infection in northeast Thailand. World Journal of Gastroenterology 2007; 13(12):1837-40.

วาที สิทธิ. ความรู้ ทัศนคติ การยอมรับปฏิบัติ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการติดโรคพยาธิใบไม้ตับในจังหวัดพะเยา ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2564; 41(1):38-47.

ประเสริฐ ประสมรักษ์. เปรียบเทียบความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ความรู้ และพฤติกรรมป้องกัน ในประชากรกลุ่มเสี่ยงพื้นที่รอบแหล่งน้ำชุมชนชนบทและชุมชนเมือง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(6):628-34.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในปีพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.181.6/ebook_3504/file_upload/00339/03876/yasopho-599042.pdf

กิจปพน ศรีธานี, สุรัตนา เหล่าไชย, ปภาวี รัตนธรรม, นภาพร พงษ์วิชัย, จิรารัตน์ เครือศรี, จุฬารัตน์ กันยาสุด และคณะ. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในตำบลลำคลอง อำเภอเมืองจังหวัดกาฬลินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560; 11(3):23-30.

ชญาภัทร พันธ์งาม, รมย์กมล วิจิตรจันทร์, ดาวเรือง สายจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตสูงของประชาชนในเขตพื้นที่บ้านหนองแก้ว ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา 2560; 4(1):146-51.

วันชัย เหล่าเสถียรกิจ, ศศิธร เจริญประเสริฐ, กันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ, พุทธิไกร ประมวล, ศักรินทร์ บุญประสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคปลาดิบ-สุกๆ ดิบๆ ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2559. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(6):1-12.

ณัฐยาน์ บุญมาก, วรรณภา เนาวชาย, คลชย เลิศวิจิตรอนันต์, อุทัย อร่ามเรือง. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิในประชาชนอายุ 45-55 ปี หมู่ 6 บ้านหนองแวง ตำบลโพนเขวา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา 2560; 4(2):126-34.

ขจรศักดิ์ พันธ์ชัย, เกษมณี พิทักษ์, นิยม จันทร์นวล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคปลาดิบของประชาชนตำบลเหล่ากวาง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2565; 11(1):6-15.

ธนากร วรัมพร, ยุวดี สาระพันธ์, สุนิศา แสงจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในพื้นที่หมู่ 3 บ้านซับถาวร ตําบลไทยอุดม อําเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 3(2):16-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-13