การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนในพื้นที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • นฤมล บำรุงสวน รพ.สต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
  • ยุพิน เชิดชน รพ.สต.เกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
  • ไพโรจน์ เจริญนาม รพ.สต.คลองน้ำเค็ม อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะโภชนาการเกิน, เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

ภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มวัยเรียน อำเภอแหลมสิงห์ มีค่าเกิน ร้อยละ 10 ในปี 2561-2563 การพัฒนารูปแบบเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียน 2) พัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ และ 3) ประเมินผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ กลุ่มประชากรเลือกแบบเจาะจงเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน จาก 5 โรงเรียน จำนวน 43 คน เข้าร่วมพัฒนาโปรแกรม นำโปรแกรมฯ ไปใช้ ทำการประเมินผล โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ Thematic Analysis ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Pair t-test

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มประชากรมีภาวะโภชนาการเกิน เริ่มอ้วน ร้อยละ 12.20 และอ้วน ร้อยละ 5.28 ปัญหาเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค เช่น ชอบทานอาหารทอด รสหวานมัน ขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ทานต่อมื้อปริมาณมากโดยเฉพาะมื้อเย็น ทานผักน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีการออกกำลังกาย ผลการพัฒนาได้โปรแกรม การลดภาวะโภชนาการเกิน 5 ขั้นตอนในวัยรุ่น แต่ละขั้นมีเป้าหมายเพื่อประเมินสถานะสุขภาพและผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกิน มีทักษะในการเลือกบริโภคอาหาร ออกกำลังกายเหมาะสม เลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสม และเกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน ใช้เวลาดำเนินการ 3 เดือน ผลการนำโปรแกรมฯ ไปใช้พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม มีภาวะโภชนาการเกิน ท้วม ร้อยละ 8.11 เริ่มอ้วน ร้อยละ 56.76 และอ้วน ร้อยละ 35.14 หลังเข้าร่วมกิจกรรม สมส่วน ร้อยละ 2.70 ท้วม ร้อยละ 10.81 เริ่มอ้วน ร้อยละ 62.16 และอ้วน ร้อยละ 24.32 การเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย และส่วนสูง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนน้ำหนักก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม ไม่แตกต่างกัน แต่มีภาวะสมส่วนดีขึ้น มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดน้อยลง

References

อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์. โภชนาการกับเด็ก (พิชิตอ้วน). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สารคดี; 2552.

ฐิติมา โกศัลวิตร, จุติพร ผลเกิด, ชฎิล สมรภูมิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากภาวะโภชนาการเกินในเด็กระดับประถมศึกษาในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี 2550; 4(4):22-7.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร, นิชรา เรืองดารกานนท์, ปราณี ชาญณรงค์, ภาสุรี แสงศภวนิช, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า และคณะ. รายงานการสร้างสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 [อินเตอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค. 2564]. 226 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/3169/hs1815.pdf?sequence=3&isAllowed=y

สุนีย์ ปิ่นทรายมูล. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่เหมาะสมในนักเรียนประถมศึกษาที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานอำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

ปราณี อินทร์ศรี, ปิยะนุช จิตตนูนท์, ศิริวรรณ พิริยคุณธร. การพัฒนาคู่มือปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2558; 35(2):177-90.

กนกวรรณ เหง้าวิชัย, พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยเหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2557; 9(27):91-103.

อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2561; 7(2):41-53.

ปาณัสม์ สุบงกช, สมบูรณ์ จิระสถิตย์, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, สมบัติ อ่อนศิริ, อลิสา นิติธรร. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดกลางคลองสี่ จังหวัดปทุมธานี. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ 2562; 45(2):100-10.

สมประสงค์ มณฑลผลิน, สมบัติ อ่อนศิริ, อัจริยะ เอนก, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, อลิสา นิติธรรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย และพัฒนาสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินโรงเรียนราชินีบน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ 2562; 45(2):197-207.

ธนันญดา บัวเผื่อน. รูปแบบกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน. อินทนิลทักษิณสาร 2561; 13(1):145-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25