การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้สูงอายุ, ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้บทคัดย่อ
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี พบว่า ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และประเมินประสิทธิผลการนำโปรแกรมไปใช้ ผู้เข้าร่วมวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 94 คน และคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าเพื่อเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาโปรแกรม 22 คน 2) กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. ประเมินผลโปรแกรมด้วยแบบสอบถาม ด้านพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และแบบประเมินความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ Thematic Analysis ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Pair t-test และ Wilcoxon Signed Rank test
ผลการศึกษา พบว่า ผลการพัฒนาได้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมโรคความดันโลหิตสูงแบบมีส่วนร่วมกับ อสม. ที่มีองค์ประกอบ 3 กิจกรรมหลัก คือการรับรู้ตัวตน (รับรู้ปัญหา) ตั้งเป้าหมาย (เพื่อลดปัญหานั้นๆ) เข้าใจแนวปฏิบัติ (ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติซ้ำๆ จนจำได้) การมีส่วนร่วมติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปัญหาอุปสรรค (ติดตามทั้งเชิงรุกและเชิงรับ) ประเมินผลลัพธ์และสะท้อนผลพฤติกรรม ใช้เวลาดำเนินการ 4 เดือน ผลการประเมินโปรแกรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ย พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ส่วนดัชนีมวลกาย (ค่า BMI) ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง และความเครียด ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)
โปรแกรมนี้สามารถนำไปส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุฯ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในกลุ่มอื่นๆ และพื้นที่อื่นต่อไป
References
ธัญญรัตน์ เกิดสุวรรณ. ดันความโลหิตสูง...เพชฌฆาต เงียบ!!. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_70.php
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลักธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลกปี 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kohlantahospital.com/lanta/?p=1005
สำนักงานสาธารณสุขจันทบุรี. Health Data Center [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://cti.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด; 2560.
รภัทภร เพชรสุข, ชุติมา ทองวชิระ. ผลของโปรแกรมในการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชุมชนวัดภคินีนาถ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2560; 23(2):250-58.
เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม [อินเตอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/115427%20
Ivankova NV. Mixed Methods Application in Action Research from method to Community Action. SAGE Publication; 2015.
ธนีย์ ธนียวัน. ความดันโลหิตสูงคืออะไร วินิจฉัยอย่างไรและปัญหาจากการควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร รวมถึงมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=C2tZEGk0HIM
ชลชัย อานามนารถ. ท่าบริหารสำหรับคนเป็นความดันโลหิตสูง : Smart 60 สูงวัยอย่างสง่า [by Mahidol] [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=-VFrVWNMs8M
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. กินอย่างไรห่างไกลสมองเสื่อม [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/elderlybook/194716#
รุ่งทิวา ขันธมูล. การจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(2):89-96.
อัมพร บุญช่วย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(2):231-43.
คนึงนิจ เพชรรัตน์, สัญญา ปงลังกา, จุฑามาส กิติศรี. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2561; 45(1):37-48.
สุธีรา ฮุ่นตระกูล, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์. การพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน. วารสารพยาบาลทหารบก 2555; 13(3):38-46.
ยุภาพร นาคกลิ้ง, ปราณี ทัดศรี. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2560; 6(1):27-35.
อนวัช เสริมสวรรค์. หายใจช้าช่วยลดความดันได้...[อินเตอร์เน็ต]. 2550. [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/qol/detail/9500000056342
จันทนา เสวกวรรณ, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2562; 33(1):152-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว