การเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ระหว่าง มิถุนายน 2564 - ธันวาคม 2565

ผู้แต่ง

  • ขวัญใจ วังคะฮาต ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
  • สุทิศ จันทร์พันธ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
  • วราภรณ์ ศิริเติม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
  • สุรัยยา หมานมานะ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

SARS-CoV-2, การเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อไวรัส, การกลายพันธุ์, สายพันธุ์ที่น่ากังวล, เขตสุขภาพที่ 10

บทคัดย่อ

ตั้งแต่พบผู้ป่วยติดโรคติดเชื้อโควิด-2019 คนแรกในประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงโดยเฉพาะพบการกลายพันธุ์ชนิดใหม่ของเชื้อ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานีได้รวบรวมและศึกษาผลการตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์เชื้อ SARS-CoV-2 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร โดยทำการศึกษาแบบย้อนหลัง ตัวอย่างป้ายคอ (throat swab) และป้ายโพรงจมูก (nasopharyngeal swab) ของผู้ป่วยที่ตรวจพบสารพันธุกรรมเชื้อ SARS-CoV-2  จำนวน 1,115 ตัวอย่าง ตั้งแต่ มิถุนายน 2564 ถึง ธันวาคม 2565 โดยนำมาตรวจหาตำแหน่งกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี Single Nucleotide Polymorphism (SPN) genotyping assay ด้วยเครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม Quant Studio™ 5 Real-Time PCR โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (descriptive statistics) วิเคราะห์ความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 พบสายพันธุ์ Alpha และสายพันธุ์ Delta ร้อยละ 60.98 และ 39.02 ตามลำดับ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 พบสายพันธุ์ Delta มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 100 และลดลงเนื่องจากพบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Omicron ในเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งพบร้อยละ 43.64 และเพิ่มขึ้นเป็นสายพันธุ์หลักในปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม นอกจากนี้พบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ย่อยของ Omicron ได้แก่ BA.1, BA.2, BA.4/BA.5 และ BA.2.75 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์เชื้อ SARS-CoV-2 ที่น่ากังวล ได้แก่ สายพันธุ์ Alpha, Delta และ Omicron โดยผลการศึกษาครั้งนี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ของประเทศไทย นอกจากนี้ข้อมูลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นประโยนช์ในระบบการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อ SARS-CoV-2 ในเขตสุขภาพที่ 10

References

Chantutanon S, Sangsawang Ch. Epidemiology of SARS-CoV-2 Beta Variant (B.1.351) and Risk Factors for Severe Illness in the Southernmost Provinces of Thailand, April- September 2021. Bulletin of the Department of Medical Science 2022; 64(2):81-92.

Hua J, Shaw R. Corona Virus (COVID-19) “Infodemic” and Emerging Issues through a Data Lens: The Case of China. International Journal of Environmental Research and Public Health 2020; 17(7):2309.

Wang MY, Zhao R, Gao LJ, Gao XF, Wang DP, Cao JM. SARS-CoV-2: structure, biology, and structure-based therapeutics development. Front Cell Infect Microbiol 2020; 10:587269. doi:10.3389/fcimb.2020.587269

Tu YF, Chien CS, Yarmishyn AA, Lin YY, Luo YH, Lin YT, et al. A review of SARS-CoV-2 and the ongoing clinical trials. Int J Mol Sci 2020; 21(7):2657-70. doi:10.3390/ijms21072657

มาลินี จิตตกานต์พิชย์. ปฐมบท COVID-19. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2563; 62(1):1-5.

Yin C. Genotyping coronavirus SARS-CoV-2: methods and implications. Genomics 2020 Sep; 112(5):3588-96. doi:10.1016/j.ygeno.2020.04.016

Choi JY, Smith DM. SARS-CoV-2 Variants of Concern. Yonsei Med J 2021 Nov; 62(11):961-8. doi:10.3349/ymj.2021.62.11.961

Aleem A, Akbar Samad AB, Vaqar S. Emerging Variants of SARS-CoV-2 and Novel Therapeutics Against Coronavirus (COVID-19). StatPearls [Internet]. 2023. [cited 2023 Oct 18]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK570580

Ahmad A, Fawaz MAM, Aisha A. A comparative overview of SARS-CoV-2 and its variants of concern. Infez Med 2022; 30(3):328-43. doi:10.53854/liim-3003-2

Angel YT, Jodi WL, Priyia P, Vengadesh L, Chan K, Lee L. Emerging SARS-CoV-2 Variants of Concern (VOCs): An Impending Global Crisis. Biomedicines 2021; 9:1303-28.

Chiara M, D’Erchia A, Gissi C, Manzari C, Parisi A, Resta N, et al. Next generation sequencing of SARS-CoV-2 genomes: challenges, applications and opportunities. Briefings in Bioinformatics 2021; 22(2):616–30.

Harper H, Burridge A, Winfield M, Finn A, Davidson A, Matthews D, et al. Detecting SARS-CoV-2 variants with SNP genotyping. PloS one 2021; 16(2):e0243185.

Henriques-Santos BM, Farjun B, Corrêa IA, Figueiredo JB, Fidalgo-Neto AA, Kuriyama SN. SARS-CoV-2 Variant Determination Through SNP Assays in Samples From Industry Workers From Rio de Janeiro, Brazil. Front Microbiol 2022; 12:757783. doi:10.3389/fmicb.2021.757783

Sit BHM, Po KHL, Cheung YY, Tsang AKL, Leung PKL, Zheng J, et al. Detection of SARS-CoV-2 VOC-Omicron using commercial sample-to-answer real-time RT-PCR platforms and melting curve-based SNP assays. J Clin Virol Plus 2022; 2(3):100091. doi:10.1016/j.jcvp.2022.100091

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อ SAR-CoV-2 ที่พบในประเทศไทย (SARS-CoV-2 variants in Thailand) โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.data.go.th/dataset/sars-cov-2-variants

พิไลลักษณ์ อัคคไพบูลย์โอกาดะ, สิริภาภรณ์ ผุยกัน, สิทธิพร ปานเม่น, ธนัสภา ธนเดชากุล, สิริชล กาละ, วันดี มีฉลาด และคณะ. การศึกษาจีโนมของเชื้อ SARS-CoV-2 ที่พบ ณ สนามมวยและสถานบันเทิงในเขตกรุงเทพมหานครของประเทศไทย. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2020; 62(3):133-42.

รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด. มาทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ตัวที่แกร่งที่สุดและแพร่เชื้อได้ไว้ที่สุดในตอนนี้ [อินเตอร์เน็ต]. 25 สิงหาคม 2021. [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article

Dhawan M, Saied AA, Mitra S, Alhumaydhi FA, Emran TB, Wilairatana P. Omicron variant (B.1.1.529) and its sublineages: What do we know so far amid the emergence of recombinant variants of SARS-CoV-2. Biomed Pharmacother 2022; 154:113522. doi:10.1016/j.biopha.2022.113522

Dhawan M, Priyanka, Choudhary OP. Omicron SARS-CoV-2 variant: Reasons of emergence and lessons learnt. Int J Surg 2022; 97:106198. doi:10.1016/j.ijsu.2021.106198

บวรศม ลีระพันธ์, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, พาส์น ฑีฆทรัพย์, แพรวนภา พันธุ์สวาสดิ์, วรารัตน์ ใจชื่น, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และคณะ. รายงานวิจัย เรื่องการพัฒนาแบบจำลองบูรณาการระบบการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25