การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนและการมีส่วนร่วมของประชาชน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ประกาศิต งามแสง โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • พุทธิไกร ประมวล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การป้องกันอุบัติเหตุจราจร, คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน, การมีส่วนร่วมของประชาชน, อำเภอกันทรลักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนและการมีส่วนร่วมของประชาชน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบฯ  และประเมินผลรูปแบบฯ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้ได้รับบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ 210 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable linear regression ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรฯ ตามกระบวนการของ PDCA กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนอำเภอกันทรลักษ์ 60 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อสรุปผล และระยะที่ 3 เป็นการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นฯ กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการ ศปถ.อ. และประชาชน กลุ่มละ 50 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test พบว่า มี 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรของประชาชนผู้ขับขี่จักรยานยนต์ คือ เพศหญิง การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรระดับดี จะมีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร มากกว่า 6.42 คะแนน (Adjusted mean diff = 6.42, 95%CI = 3.04 to 9.80), 10.34 คะแนน (Adjusted mean diff = 10.34, 95%CI = 7.02 to 13.66) และ 4.17 คะแนน (Adjusted mean diff = 4.17, 95%CI = 1.40 to 6.93) นำผลการศึกษาปัจจัยในระยะที่ 1 มาศึกษาพัฒนารูปแบบฯ จนได้เป็นรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรฯ อำเภอกันทรลักษ์ ประกอบด้วย 1) การสร้างเครือข่ายลดอุบัติเหตุจราจร 2) ความเข้มแข็งของทีม ศปถ.อ. 3) การจัดตั้ง ศปถ.อปท. 4) การอบรมพัฒนาศักยภาพทีม ศปถ.อ./อปท. 5) การจัดการข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยงและคืนข้อมูล 6) การปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 7) ความร่วมมือจากภาคประชาชน และ 8) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ หลังจากทดลอง พบว่า คณะกรรมการ ศปถ.อปท. และประชาชน มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจร มากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2023. Geneva: World Health Organization; 2023.

World Health Organization. Global status report on road safety 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย: ข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน (3 ฐาน) [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/3base_status_new

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางท้องถนน มูลนิธิถนนปลอดภัย. ภาคี สสส. ถกสื่อถอดบทเรียนสงกรานต์ แก้ปัญหาสูญเสียทุกปี [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2567] เข้าถึงได้จาก: https://www.roadsafetythai.org/content_hotissue.2564

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565-2570. กรุงเทพมหานคร: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย; 2566.

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอกันทรลักษ์ (ศปถ.อ.). รายงานสรุปสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2565. เอกสารอัดสำเนา.

Kelley K, Maxwell SE. Sample size for multiple regression: obtaining regression coefficients that are accurate, not simply significant. Psychological methods 2003; 8(3):305.

โสพรรณ โพทะยะ, วิลัยลักษณ์ อินทราราม, คณิตราพร ประกอบกิจ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยายนต์ในพื้นที่เขตตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2565; 32(3):25-35.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer. 3rd edition. Victoria: Deakin University; 1988.

พงษ์เดช สารการ. ชีวสถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล: STATA10. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

เกษมสุข กันชัยภูมิ. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนแบบมีส่วนร่วมโดยเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2565; 7(2):82-92.

สุดนิรันทร์ เพชรัตน์, รุ่งอรุณ บุญถ่าน, ศานติ จินตรัตน์. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะย้อนศร: กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2559; 11(2):141-52.

จริยา ละมัยเกศ, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, วัชรินทร์ โกมลมาลัย. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรทางบกที่มารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี 2561; 1(2):66-78.

พนิดา เทพชาลี, กาญจนา อาบสุวรรณ, นิวัฒนา เข็มสุวรรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา ภาคการศึกษาปวงชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562; วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา: 2562. หน้า 873-82.

ธวัชชัย เอกสันติ, กมลทิพย์ ลมไธสง, นิศารัตน์ มูลกระโทก, อนุสา ชินราช, ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 2564; 34(2):16-29.

อำนาจ ราชบัณฑิต. รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2565; 29(3):98-110.

สารสิน กิตติโพวานนท์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2565; 5(3):233-45.

รังสรรค์ ศรีคราม, สุคนธ์ทิพย์ บัวแดง. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2566; 2(3):52-66.

กาญจนา เลิศวุฒิ, วันเพ็ญ โพธิยอด, ชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2561; 14(1):46-59.

นฤมล ไกรกล, วิรัติ ปานศิลา, สงัด เชื้อลิ้นฟ้า. รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จุดเสี่ยง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(2):42-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-25