อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีน ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
วัคซีน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์บทคัดย่อ
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นใหม่และเร่งด่วนยังไม่มีข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อมีการใช้ในวงกว้าง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีนที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาย้อนหลังในประชาชนผู้มารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งหมดที่หน่วยบริการในอำเภอวารินชำราบ ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน - 30กันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ฐานข้อมูลกลางของกระทรวงสาธารณสุข และระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ผลการศึกษาพบว่าประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมทั้งหมด 141,143 โดส พบรายงานอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ฯทั้งหมด 8,094 รายงาน (คิดเป็นร้อยละ 5.7) โดย 8,073 รายงาน (ร้อยละ 99.7) ไม่ร้ายแรง พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (aOR= 2.22 95%CI: 2.07-2.34) กลุ่มประชาชนอายุมากกว่า 60 ปี พบน้อยกว่าช่วงอายุอื่น (aOR= 0.63 95%CI: 0.52-0.74) ในขณะที่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ระบาดพบรายงานผลข้างเคียงได้บ่อยกว่ากลุ่มอื่น (aOR=8.73 95%CI: 7.59-9.88 และ aOR=9.65 95%CI: 8.23-10.91 ตามลำดับ) วัคซีนโควิด-19 ที่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากที่สุดคือ Moderna (1,186.6 รายงานต่อหมื่นโดส) และพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง 21 รายงาน (ร้อยละ 0.3) ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (11 รายงาน) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (2 รายงาน) ภาวะหัวใจล้มเหลว (1 รายงาน) ความดันโลหิตสูงวิกฤติ (1 รายงาน) ภาวะ ARDS (1 รายงาน) ภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (1 รายงาน) สมองอักเสบ (1 รายงาน) และเสียชีวิต (2 รายงาน) โดยสรุปวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีความสำคัญในการป้องกันโรคนั้นพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้บ่อย แต่เกือบทั้งหมดไม่ร้ายแรง ในภาพรวมจึงมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนควรตระหนักถึงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
References
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังและตอบโต้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 18 ต.ค. 2565]. 122 หน้า. เข้าถึงได้จาก: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/handbook/form/104
Polack FP, Thomas SJ, Kitchin N, Absalon J, Gurtman A, Lockhart S, et al. Safety and Efficacy of the BNT162b2 mRNA Covid-19 Vaccine. New England Journal of Medicine 2020; 383(27):2603-15.
Baden LR, El Sahly HM, Essink B, Kotloff K, Frey S, Novak R, et al. Efficacy and Safety of the mRNA-1273 SARS-CoV-2 Vaccine. New England Journal of Medicine 2021; 384(5):403-16.
Gee J, Paige Marquez, Su J, Calvert GM, Liu R, Myers T, et al. MMWR, First Month of COVID-19 Vaccine Safety Monitoring - United States, December 14, 2020–January 13, 2021. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2020; 70(8):283-8.
Shimabukuro TT, Kim SY, Myers TR, Moro PL, Oduyebo T, Panagiotakopoulos L, et al. Preliminary Findings of mRNA Covid-19 Vaccine Safety in Pregnant Persons. New England Journal of Medicine 2021; 384(24):2273-82.
พิมผกา อินทวงศ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีนที่หน่วยบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2565; 2(1):28-40.
จันทร์จิรา ชอบประดิถ, ธนภร ลิขิตเทียนทอง, วิรชัย สันทอง. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ณ โรงพยาบาลสมุทรสาคร. หัวหินเวชสาร 2022; 2(3):52-70.
สุภาพร จิรมหาศาล. ผลการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 (AEFI) ของผู้รับบริการฉีดวัคซีน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2565; 7(2):11-21.
ภาวินี ด้วงเงิน, ศริญญา ไชยยา, อภิญญา ปัญจงามพัฒนา, สมคิด ไกรพัฒนพงศ์, สุภาภรณ์ จูจันทร์, ซันนารี พาชีเพชร. ผลการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม–31 ธันวาคม 2564, 10 เดือน ภายหลังการรณรงค์ฉีดวัคซีน. วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2565; 53(31):469-81.
คณะผู้เชี่ยวชาญเหตุการณ์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สถาบันประสาทวิทยา และกรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติสำหรับอาการไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนป้องกันโรค กรณีปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการฉีดวัคซีน กลุ่มอาการคล้ายภาวะหลอดเลือดสมอง. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566]. 9 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1890920210607103300.pdf
พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, แสงทอง ธีระทองคำ, จิราพร ไลนิงเกอร์, วนาพรรณ ชื่นอิ่ม, พลอยแก้ว จารุวร, สุนันท์ วงศ์วิศวะกร. การศึกษาอาการไม่พึงประสงค์และความไม่ปลอดภัย ภายหลังการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566]. 78 หน้า. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5782
กนกพร ธัญมณีสิน, ชัญญรัชต์ นกศักดา. การพัฒนาแนวทางการป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2565; 4(2):127-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว