ผลการใช้กระบะอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนแสง ร่วมกับการส่องไฟต่อระดับบิลิรูบิน ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง

Main Article Content

ธันยมนย์ วงษ์ชีรี
ทนง ประสานพานิช

Abstract

ที่มาของปัญหา : ทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติในหอผู้ป่วยหนักเด็ก มักเกิดภาวะตัวเหลืองได้ง่าย และมีระดับบิลิรูบิน สูงกว่าทารกแรกเกิดสุขภาพดี ดังนั้นจึงต้องรีบลดระดับบิลิรูบินให้ต่ำกว่าระดับอันตรายในเวลา อันรวดเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงการถ่ายเปลี่ยนเลือด ในบางครั้งจึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องส่องไฟหลาย เครื่อง ทารกที่ต้องส่องไฟหลายเครื่อง ต้องใช้พื้นที่ในการวางเครื่องมือเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การพยาบาล และการทำหัตถการไม่สะดวก การใช้อะลูมิเนียมฟอยล์กั้นทำเป็นม่านช่วยลดระยะส่องไฟลงได้ แต่วิธี นี้ทำให้การสังเกตอาการผู้ป่วยทำได้ยาก ผู้วิจัยจึงคิดนวัตกรรม กระบะอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนแสง โดยคำนึงถึงหลักการสะท้อนพลังงานแสง และเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสแสงของทารก วิธีนี้น่าจะช่วยลดระยะเวลาส่องไฟการทำหัตถการทำได้สะดวก และสามารถสังเกตอาการผู้ป่วยได้ง่าย

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบอัตราการลดลงของระดับบิลิรูบินในกระแสเลือดของทารกแรกเกิดที่มีภาวะ ตัวเหลืองระหว่างการใช้เครื่องส่องไฟกับการส่องไฟร่วมกับรองกระบะอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนแสง

วิธีการศึกษา : เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบ quasi experimental research กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกแรกเกิดคลอด ปกติแข็งแรงดีในหอผู้ป่วยสูติกรรม 4 โรงพยาบาลพระปกเกล้า มีอายุครรภ์ 37 ถึง 42 สัปดาห์ ที่มีภาวะ ตัวเหลือง จำนวน 52 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยใช้โปรแกรมสุ่มสำเร็จรูป กลุ่มควบคุม 26 คน และกลุ่ม ทดลอง 26 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการรักษาด้วยวิธีการส่องไฟร่วมกับรองกระบะอะลูมิเนียมฟอยล์ กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาด้วยวิธีการส่องไฟตามปกติ ระหว่างวันที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 31 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558

ผลการศึกษา : หลังการส่องไฟ 1 วัน อัตราการลดลงของระดับบิลิรูบินของกลุ่มทดลอง (0.162 ± 0.059 มก/ดล/ชม) ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม (0.069 ± 0.052 มก/ดล/ชม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่า p <0.001, Mean Difference = 0.093, 95% CI = 0.063 - 0.124 ค่าเฉลี่ยของระดับบิลิรูบินหลังการ ส่องไฟและระยะเวลารักษาในโรงพยาบาลของกลุ่มทดลอง (11.354 ± 1.386 มล/ดล และ 4.62 ± 1.1 วัน) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (13.092 ± 1.473 มล/ดล และ 5.5 ± 1.11 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่า p <0.001, Mean Difference = 1.7 วัน, 95% CI = 0.9 – 2.5 และ ค่า p = 0.003, Mean Difference = 0.9 มก/ดล, 95% CI = 0.3 – 1.5 ตามลำดับ พบจำนวนทารกที่ต้องส่องไฟมากกว่า 1 วัน ในกลุ่มทดลอง (2 คน) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (11 คน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่า p = 0.004 อุณหภูมิร่างกายสูงสุดขณะส่องไฟเฉลี่ยในกลุ่มทดลอง (37.4 ± 0.2 องศาเซลเซียส) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (37.3 ± 0.2 องศาเซลเซียส) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่า p = 0.024, Mean Difference = 0.12 องศาเซลเซียส, 95% CI = 0.001 – 0.24 แต่ไม่พบภาวะอุจจาระร่วง และภาวะขาดน้ำในทั้งสองกลุ่ม

สรุป : การรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองโดยการส่องไฟร่วมกับรองกระบะฟอยล์สะท้อนแสง สามารถลดระดับบิลิรูบินในพลาสมาได้มากกว่าการใช้เครื่องส่องไฟอย่างเดียว


The Effect of Phototherapy with Reflecting Aluminum Foil Tray on Bilirubin Level in Neonatal Jaundice

Background : Neonatal Jaundice in PICU had occurs easily and bilirubin levels higher than healthy newborn. Phototherapy is the first treatment choose because exchange transfusion is treatment to reduce high bilirubin but this treat¬ment have a lot of complication. Perhaps the double or triple phototherapy uses treat the same patient when neonatal jaundice had high level of serum bilirubin, which double or triple phototherapy using place the device increases. Lining the sides of the phototherapy lamp with aluminum foil cloth can increase irradiance but this method difficulty observed. Photo¬therapy with reflecting aluminum foil tray is one of the method to increase irradiance and surface area. Research is to compare the bilirubin levels in neonatal jaundice between phototherapy and phototherapy with aluminum foil tray.

Objective : The comparison of bilirubin levels in neonatal jaundice between photo¬therapy and phototherapy with aluminum foil tray.

Method : Quasi experimental Research was used in this study. The total of 52 healthy new born infants 37 – 42 weeks of gestation with hyperbilirubinemia treated by phototherapy were included in this study. Twenty - six jaundiced infants used only phototherapy and Twenty - six jaundiced infants used phototherapy with aluminum foil tray equally.

Results : The initial mean serum bilirubin levels were not different between two groups. After phototherapy for 1 day, the mean serum bilirubin levelsand length of hospital stay in study group (0.162 ± 0.059 mg/dl/hr and 4.62 ± 1.1 days) decreased than control group (0.069 ± 0.052 mg/dl/hr, 5.5 ± 1.11 days) was significantly at p < 0.001, Mean Difference = 0.093, 95% CI = 0.063 - 0.124. The mean fever, diarrhea and dehydration of defecation between two groups were not different.

Conclusion : phototherapy with aluminum foil tray was significantly more effective in reduction bilirubinthan only phototherapy in neonatal jaundice.

Article Details

Section
Original Article