ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ต่อความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการ ป้องกันตนเองจากการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิง

Main Article Content

สมบัติ รัตนะนาม
ชำเรือง สุวรรณ
พรฤดี นิธิรัตน์
เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์

Abstract

ที่มาของปัญหา : ขณะนี้วัยรุ่นกำลังเผชิญกับปัญหาการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึง ประสงค์ สถิติวัยรุ่นหญิงที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า ระหว่างปีพ.ศ.2553 ถึง พ.ศ. 2555 พบ ร้อยละ 12.4, 15.2 และ 23.6 ตาม ลำดับ ส่วนการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน พบร้อยละ 17.3, 18.8 และ 16.7 ของผู้คลอดทั้งหมดในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ :  1. เพื่อเปรียบเทียบความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันตนเองจากการเป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยทั้งใน กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันตนเอง จากการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ อย่างปลอดภัยและกลุ่มที่ได้รับความรู้ตามปกติ

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิงที่มีอายุระหว่าง 10 -19 ปี ที่มารับการรักษาในหน่วยงานสูติกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 15 คน โดยจับคู่กลุ่มตัวอย่างด้วยค่าคะแนนความรู้ และค่าคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับความรู้ตามปกติเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง เกี่ยวกับความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพในการ ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ได้แก่ Repeated One-way ANOVA (ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย pairwise comparisons) Wilcoxon signed ranks test,independent t-test และMann–Whitney U test

ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ภายหลังการได้รับโปรแกรมและระยะติดตาม สูงกว่าก่อนการได้รับ โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความเชื่อด้านสุขภาพ สูงกว่าก่อนการ ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน 2 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ความเสี่ยงสูงขึ้น (ในระยะติดตาม ผล) และด้านการรับรู้ความรุนแรงสูงขึ้น (หลังได้รับโปรแกรม) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรู้สูงกว่า กลุ่มเปรี ยบเทียบอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความเชื่อด้านสุขภาพ สูงกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ใน 2 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ความเสี่ยง และ ด้านการรับรู้ ความรุนแรง ส่วนในด้านการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการมีเพศสัมพันธ์ ที่ปลอดภัย กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพไม่แตกต่างกันทั้งก่อนและหลังการได้รับ โปรแกรม และไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ

สรุป : โปรแกรมส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ทำให้หญิงวัยรุ่นมีความรู้และความเชื่อด้าน สุขภาพ ในการป้องกันตนเองเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลควรสนับสนุนให้มีการจัดโปรแกรม

 

The Effect of Safe - Sex Promoting Program on Knowledge and Health Belief toward Sexual Transmitted Disease and Unwanted Pregnancy Prevention among Female Adolescents

Background : Adolescents have encountered sexual transmitted disease (STD) infection and unwanted pregnancy. The report from the obstetric ward of Prapokklao hospital during 2011-2013 revealed that morbidity rates of STD infection among female adolescents were 12.4 percent, 15.25, and 23.6 percent, respectively. Also, the incidences of teenage pregnancy were 17.3 percent, 18.8 percent, and 16.7 percent, respectively.

Objectives : 1. To compare knowledge and health belief toward STD and unwanted pregnancy prevention among female adolescents in treatment and comparison groups between before and after implementing the program. 2. To compare knowledge and health belief toward STD and unwanted pregnancy prevention among female adolescents between treatment and comparison groups after implementing the program.

Method : This quasi study was a two-group pretest-posttest design. The samples included30 female adolescents aged 10-19, admitted in the obstetric ward of Prapokklao hospital during July-October, 2014. The samples were equally selected to a treatment group (15 samples) and a comparison group (15 samples) by matching their knowledge and belief toward STD’s and unwanted pregnancy. The treatment group were requested to participate in a safe-sex promoting program; whereas, the comparison one received a routine health education. Data were collected before and after implement¬ing the program using a questionnaire to examine knowledge and belief toward STD’s and unwanted pregnancy. Descriptive statistics,Repeated One-way ANOVA with PairwiseComparisons, Wilcoxon signed rankstest, independent t-test, and Mann–Whitney U test were applied for data analysis.

Results : After participating in the program and 4 weeks later, adolescents’ knowledge, perceived susceptibility, and perceive severity toward STD and unwanted pregnancy prevention weresignificantly higher than those beforeparticipating in the program. Moreover, knowledge, perceived susceptibility, and perceive severity toward STD’s and unwanted pregnancy prevention of adolescents in the treatment group were significantly higher than those of adolescents in the comparison group. For perceived benefits, perceived barriers, and self-efficacy toward STD and unwanted pregnancy prevention, there was no significant difference between before and after implementing the program as well as between treatment and comparison groups.

Conclusion : The safe-sex promoting program could enhance knowledge, perceived susceptibility, and perceive severity toward STD and unwanted pregnancy prevention among female adolescents. Therefore, this program should be provided to at-risk adolescents during the hospital admission.

Article Details

Section
Original Article