ความไว ความจำเพาะและความแม่นยำในการวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองโตโดยการใช้เข็มเล็กเจาะดูด ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

Main Article Content

กรัณย์ พรหมมี

Abstract

ที่มาของปัญหา : การใช้เข็มเล็กเจาะดูดเป็นการตรวจเพื่อหาสาเหตุต่อมน้ำเหลืองโต เป็นหัตถการที่ง่าย สะดวก ได้ผลรวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือ

วัตถุประสงค์ :เพื่อหาความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำในการวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองโตโดยใช้เข็มเล็ก เจาะดูด

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive analysis) ทบทวนผลการวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองโต โดยการใช้เข็มเล็กเจาะดูด ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2557 เทียบกับผล ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา

ผลการศึกษา : ผลการวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองโตโดยใช้เข็มเล็กเจาะดูด 79 ราย ได้สิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอแก่การ วินิจฉัย 7 ราย (ร้อยละ 8.86) ต่อมน้ำเหลืองอักเสบฉับพลัน (acute lymphadenitis) 7 ราย (ร้อยละ 8.86) ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง (chronic lymphadenitis/reactive lymphoid hyperplasia) 28 ราย (ร้อยละ 35.44) ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรังแบบแกรนูโลมา (granulomatous inflammation) 7 ราย (ร้อยละ 8.86) มะเร็งกระจายมายังต่อมน้ำเหลือง 30 ราย (ร้อยละ 37.97) แยกเป็นมะเร็งชนิด squamous cell carcinoma 16 ราย (ร้อยละ 53.33) adenocarcinom 5 ราย (ร้อยละ 16.67) มะเร็ง ชนิด papillary carcinoma 1 ราย (ร้อยละ 3.33) และไม่สามารถระบุชนิดของเซลล์ได้ 8 ราย (ร้อยละ 26.67) ตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาทั้งสิ้น 24 ราย (ร้อยละ 30.38) เป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบแบบ แกรนูโลมา 6 ราย (ร้อยละ 25) มะเร็งกระจายมายังต่อมน้ำเหลือง 18 ราย (ร้อยละ 75) แยกเป็นมะเร็ง ชนิด squamous cell carcinoma 17 ราย (ร้อยละ 94.45) และ papillary carcinoma 1 ราย (ร้อยละ 5.55) เทียบผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพบความไวร้อยละ 100 ความจำเพาะร้อยละ 83.33 และความ แม่นยำร้อยละ 95.83

สรุป : การใช้เข็มเล็กเจาะดูดเหมาะเป็นการตรวจเบื้องต้นในการระบุสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโต เนื่องจากมีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยการแพร่กระจาย ของมะเร็ง ลดการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นและสามารถนำผลการวินิจฉัยประกอบกับข้อมูลทางคลินิกเพื่อ วางแผนการวินิจฉัยเพิ่มเติม  


Sensitivity Specificity and Accuracy in Diagnosis Lymphadenopathy by Fine-Needle Aspiration in Chaopraya Abhaibhubejr Hospital  

Background : Fine-needle aspiration (FNA) is an ancillary test to determine the etiology of lymphadenopathy. Because easy, convenience, rapid result and good reliability.

Objective : To determine sensitivity, specificity and accuracy of FNA lymph node.

Method : This was a descriptive analysis study. Review cytology result of FNA lymph node since January 2010 to December 2014 and comprising with histopa­thology.

Result : 79 cases of FNA lymph node showed 7 cases of unsatisfactory (8.86 percent), 7 cases of acute lymphadenitis (8.86 percent), 28 cases of chronic­lymphadenitis/reactive lymphoid hyperplasia, 7 cases of granulomatous inflammation (8.86 percent), and 30 cases of metastases carcinoma (37.97 percent). Metastases cases included 16 cases of squamous cell carcinoma (53.33 percent), 5 cases of adenocarcinoma (16.67 percent), 1 case of papillary carcinoma (3.33 percent) and 8 cases of undetermined carcinoma (26.67 percent). 24 cases were underwent biopsy (30.38 percent), 6 cases of granulomatous inflammation (25 percent), 18 cases of metastatic carcinoma (75 percent), 17 cases of squamous cell carcinoma (94.45 percent) and 1 case of papillary carcinoma (5.55 percent). Compare with histopa­thology, sensitivity was 100 percent, specificity was 83.33 percent and accuracy was 95.83 percent.

Conclusion : FNA is a good ancillary test to determine the etiology of lymphadenopathy. Because high sensitivity, specificity and accuracy especially in metastatic lymph node. Reduce an unnecessary surgery

Article Details

Section
Original Article